วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สรุปบรรยายของ อ.นครินทร์

โครงสร้างท้องถิ่นฝรั่งเศสมี -3 ระดับ
1 ภาค region มีสภาภาค 26 สภา มีมาก่อนปฏิบัติ 1789 แต่หายไป่ช่วงหนึ่ง หลังสงครามจึงตั้งขึ้นมาใหม่ 1966
2 จังหวัด 100 สภา
3 เทศบาล 36,580
มีการทับซ้อนของพื้นที่มาก ของไทยมีแค่ 2 ระดับเท่านั้นคือ อบจ และ เทศบาลกับ อบต. เป็นสภาพภายนอกทั่วไป
ไทยเคยจัดตั้งมณฑล 20 มณฑล ปัจจุบันมีภาคเฉพาะระบบราชการ มี 58 ภาคเพราะตั้งตามความเข้าใจของตัวเอง
ไม่ตรงหรือสอดคล้องกัน เป็นลักษณะรัฐซ้อนรัฐก็ได้ ยุทธศาสตร์ของทักษิณทำกลุ่มจังหวัดแต่ไม่เป็นนิติบุคคล จะมีการทำให้จังหวัดตั้งงบประมาณเองได้เพื่อให้ภูมิภาคเปลี่ยนรูปไป ปัจจุบันเรามี 5 ชั้น ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
สำหรับฝรั่งเศสตัดสินใจเลิกตำบลจึงไม่มีฐานะเป็นหน่วยอะไรอีกแล้ว มีภาคแต่ไม่ใช่ภูมิภาคที่เป็นทางการ มีทางการเพียงหน่วยเดียวคือจังหวัด
ในสมัยทักษิณเหมือนให้จังหวัดเข้มแข็ง แต่หน่วยราชการไม่ค่อยพอใจอยากจะตั้งหน่วยของตัวเองมากกว่า อยากจะทิ้งจังหวัด ทุกคนหลีกเลี่ยงที่จะฟังคำสั่งผู้ว่าฯ เป็นการเมืองในภาคราชการ มีแรงต้านรัฐบาลทักษิณตลอด แม้ในมหาดไทยท้องถิ่นจังหวัดแต่เป็นส่วนกลาง งบซีอีโอจริงๆ ใช้งบกลางช่วยจังหวัดเพื่อให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด
กฎหมายใหม่ออกมาจะไม่ใช่งบผู้ว่าแต่เป็นงบจังหวัด จะรีดเงินจากส่วนกรมลงไป หลักคือคนตั้งงบประมาณควรเป็นคนใช้งบประมาณ ไม่ใช่คนตั้งไม่ได้ใช้คนใช้ไม่ได้ตั้ง
ศาลอาจมีภาคของตัวเองอีกระบบได้ แต่ไม่ควรมีระบบมากเกินไป สายบริหารราชการปกติควรจะเป็นแนวเดียวกัน เรื่องงบสามกระเป๋าเป็นเครื่องสะท้อนว่าไม่เป็นแนวเดียวกัน เป็นปรากฎการณ์การรวมศูนย์อำนาจที่ไม่มีเอกภาพ
ฝรั่งเศสเป็นแม่แบบของการรวบอำนาจ ไม่เหมือนอังกฤษ ซึ่งใช้การเชิญเจ้าเมืองท้องถิ่นมาเจรจา กษัตริย์เชิญมาในสภาเรียกสภาขุนนาง House of Lords จึงไม่มีภูมิภาคมาตั้งแต่ต้นมีแต่ส่วนกลางกับท้องถิ่น แต่ฝรั่งเศสใช้การปราบและส่งคนส่วนกลางไปปกครองแทนจึงเกิดเป็นภาค มีสมุหเทศาภิบาลเป็นตัวแทนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ภายหลังเสื่อมแต่ก็ไม่ได้หาย การรวบอำนาจในฝรั่งเศส ผู้ว่าฯปกครองหัวเมืองเป็นการถืออำนาจไปเพียงคนเดียวไม่มีการมอบอำนาจให้ส่วนราชการ เป็นตัวแทนของรัฐแต่เพียงผู้เดียว มีอำนาจเต็มจึงทำให้มีเอกภาพ และ 26 คนสวมหมวกสองใบคือเป็นระดับภาคด้วย
หน่วยเก่าแก่ที่สุดคือเทศบาลหรือ Commoon เดิมมีจำนวนมาก เป็นเทศบาลที่ไม่มีชั้นเป็นเสมอเหมือนกันหมดเรียกว่าหลักเสมอภาค หน่วยใหญ่ที่สุดเทศบาลปารีสก็เท่ากับเทศบาลเล็กๆ ฝรั่งเศสไม่ประสบความสำเร็จในการรวมเทศบาล ของไทยเอามาจากญี่ปุ่นที่เป็นสามชั้น แต่ฝรั่งเศสเท่ากันทำให้ทุกหน่วยเสมอกัน เป็นแนวคิดที่เกิดความเป็นพี่น้องกันในหลักภราดรภาพ ทำให้เทศบาลทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี ในกฎหมายเรียกสหการขององค์กรปกครองท้องถิ่น
สหการแปลว่าอทป.มากกว่าสองแห่งมาทำงานร่วมกัน ร่วมมือกันหมายความว่า ต้องส่งทั้งคนและงบประมาณมาช่วย สิ่งที่ทำแล้วจะไม่ทำอีกหรือไม่ทำเดี่ยวคนเดียว ต้องทำโดยองค์กรกลาง ฝรั่งเศสจึงมีสหการท้องถิ่นที่รุ่งเรืองที่สุด โดยเฉพาะสหการพนักงานองค์กรปกครองท้องถิ่น แต่ของไทยเน้นท้องถิ่นแต่ละแห่งทำเอง ไม่ให้ท้องถิ่นสละอำนาจให้กับองค์กรกลางซึ่งเป็นของท้องถิ่น ทำให้ฝรั่งเศสยุบรวมท้องถิ่นไม่ได้ เห็นชัดว่า 7 เทศบาลทำบ่อบำบัดน้ำเสียร่วมกัน ทุกแห่งส่งเงินและคนมา เสร็จแล้วให้สหการทำ
โครงสร้างภายในของฝรั่งเศส คนที่เป็นนายกสภาคือคนเดียวกับนายกเทศมนตรี ประธานสภาจังหวัดกับนายกฯรัฐมนตรี เป็นคนเดียวกันเพราะไม่มีแนวคิดเรื่องการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง เพราะแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยของฝรั่งเศส และมีหลักการมอบอาณัติโดยประชาชน มองเตสกิเออร์ใช้สำหรับการเมืองชาติ
นายกเทศมนตรีฝรั่งเศสเป็น สส.ได้ในเวลาเดียวกัน เป็นแม้กระทั่งประธานาธิบดีก็เป็นได้ เหมือนไทยเคยมีกฎหมายเทศบาลไทยฉบับแรกไม่ได้ห้ามสท.เป็นสส. แนวนี้จะทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง เริ่มแรกเราถอดแบบฝรั่งเศสมามาเปลี่ยนแปลงในตอนหลัง มีการสร้างคำอธิบายขึ้นมา เราต่างกับฝรั่งเศสตอนแรกคือไม่ทำให้เทศบาลมีระดับเท่ากันและตั้งขึ้นมาแค่ 120เทศบาล แต่ก็ไม่มีการส่งเสริมเทศบาลก่อนปี 2540 เหลือแค่ 140 แห่ง พออาจารย์ปรีดี หมดอำนาจ ทำให้การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นโครงสร้างภายในเป็นท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ไม่เลือกตั้งโดยตรง นายกฯเป็นประธานสภา เป็นสส. ทำให้ท้องถิ่นมีความเข้แข็ง สภาภาคกับจังหวัดก็มีมาตั้งแต่ปฏิวัติ จุดหัวเลี้ยวหัวต่อจริงคือ ปี 1982 อดีตนายกฯอบจ. นายฟรังซัวร์ มิเตอร์รองค์ขึ้นเป็นประธานาธิบดี จากพรรคสังคมนิยม ระบบฝรั่งเศสมี สว.กับสส. ประชาชนเลือกประธานาธิบดี และเลือกสภา ปธน.เลือกคนเป็นนายกรัฐมนตรีให้ไปประชุมสภาแทน ปธน.อยู่ได้สมัยและ 7 ปีได้สองสมัย ชาร์ล เดอร์โกลเป็นเจ้าของระบบที่สร้างขึ้นมาแทนระบบรัฐสภา เป็นระบบกึ่งประธานาธิบดีซึ่งพรรคสังคมนิยมไม่ให้การสนับสนุน การแบ่งหน้าที่ และใช้ระบบสหการ
ฝรั่งเศสเป็นแม่แบบของการแบ่งงานท้องถิ่น แต่ของไทยกระทรวง กรมเป็นผู้ถือครองกฎหมาย จึงแบ่งงานหรือถ่ายโอนยาก
ประชาธิปไตยสมัยใหม่ เป็นประชาธิปไตยตัวแทน โบราณแบบทางตรง สมัยใหม่ต้องเลือกตั้ง แยกอำนาจ มีรัฐธรรมนูญ และนิติรัฐ โดยองค์กรอิสระทำการตรวจสอบ กับการทบทวนความถูกความชอบด้วยกฎหมาย Judicial review โดยมีศาลรัฐธรรมนูญมาตีความ หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมามีการใช้หลักนี้ ซึ่งประเทศอเมริกาใช้ระบบนี้ด้วยความเข้มแข็ง
รัฐธรรมนูญไทยมีสามกลุ่มคือ เผด็จการ ประชาธิปไตยแบบเก่า และประชาธิปไตยแบบใหม่ (นิติรัฐกับ Judicial review)