วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สรุปบรรยายของ อ.นครินทร์

โครงสร้างท้องถิ่นฝรั่งเศสมี -3 ระดับ
1 ภาค region มีสภาภาค 26 สภา มีมาก่อนปฏิบัติ 1789 แต่หายไป่ช่วงหนึ่ง หลังสงครามจึงตั้งขึ้นมาใหม่ 1966
2 จังหวัด 100 สภา
3 เทศบาล 36,580
มีการทับซ้อนของพื้นที่มาก ของไทยมีแค่ 2 ระดับเท่านั้นคือ อบจ และ เทศบาลกับ อบต. เป็นสภาพภายนอกทั่วไป
ไทยเคยจัดตั้งมณฑล 20 มณฑล ปัจจุบันมีภาคเฉพาะระบบราชการ มี 58 ภาคเพราะตั้งตามความเข้าใจของตัวเอง
ไม่ตรงหรือสอดคล้องกัน เป็นลักษณะรัฐซ้อนรัฐก็ได้ ยุทธศาสตร์ของทักษิณทำกลุ่มจังหวัดแต่ไม่เป็นนิติบุคคล จะมีการทำให้จังหวัดตั้งงบประมาณเองได้เพื่อให้ภูมิภาคเปลี่ยนรูปไป ปัจจุบันเรามี 5 ชั้น ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
สำหรับฝรั่งเศสตัดสินใจเลิกตำบลจึงไม่มีฐานะเป็นหน่วยอะไรอีกแล้ว มีภาคแต่ไม่ใช่ภูมิภาคที่เป็นทางการ มีทางการเพียงหน่วยเดียวคือจังหวัด
ในสมัยทักษิณเหมือนให้จังหวัดเข้มแข็ง แต่หน่วยราชการไม่ค่อยพอใจอยากจะตั้งหน่วยของตัวเองมากกว่า อยากจะทิ้งจังหวัด ทุกคนหลีกเลี่ยงที่จะฟังคำสั่งผู้ว่าฯ เป็นการเมืองในภาคราชการ มีแรงต้านรัฐบาลทักษิณตลอด แม้ในมหาดไทยท้องถิ่นจังหวัดแต่เป็นส่วนกลาง งบซีอีโอจริงๆ ใช้งบกลางช่วยจังหวัดเพื่อให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด
กฎหมายใหม่ออกมาจะไม่ใช่งบผู้ว่าแต่เป็นงบจังหวัด จะรีดเงินจากส่วนกรมลงไป หลักคือคนตั้งงบประมาณควรเป็นคนใช้งบประมาณ ไม่ใช่คนตั้งไม่ได้ใช้คนใช้ไม่ได้ตั้ง
ศาลอาจมีภาคของตัวเองอีกระบบได้ แต่ไม่ควรมีระบบมากเกินไป สายบริหารราชการปกติควรจะเป็นแนวเดียวกัน เรื่องงบสามกระเป๋าเป็นเครื่องสะท้อนว่าไม่เป็นแนวเดียวกัน เป็นปรากฎการณ์การรวมศูนย์อำนาจที่ไม่มีเอกภาพ
ฝรั่งเศสเป็นแม่แบบของการรวบอำนาจ ไม่เหมือนอังกฤษ ซึ่งใช้การเชิญเจ้าเมืองท้องถิ่นมาเจรจา กษัตริย์เชิญมาในสภาเรียกสภาขุนนาง House of Lords จึงไม่มีภูมิภาคมาตั้งแต่ต้นมีแต่ส่วนกลางกับท้องถิ่น แต่ฝรั่งเศสใช้การปราบและส่งคนส่วนกลางไปปกครองแทนจึงเกิดเป็นภาค มีสมุหเทศาภิบาลเป็นตัวแทนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ภายหลังเสื่อมแต่ก็ไม่ได้หาย การรวบอำนาจในฝรั่งเศส ผู้ว่าฯปกครองหัวเมืองเป็นการถืออำนาจไปเพียงคนเดียวไม่มีการมอบอำนาจให้ส่วนราชการ เป็นตัวแทนของรัฐแต่เพียงผู้เดียว มีอำนาจเต็มจึงทำให้มีเอกภาพ และ 26 คนสวมหมวกสองใบคือเป็นระดับภาคด้วย
หน่วยเก่าแก่ที่สุดคือเทศบาลหรือ Commoon เดิมมีจำนวนมาก เป็นเทศบาลที่ไม่มีชั้นเป็นเสมอเหมือนกันหมดเรียกว่าหลักเสมอภาค หน่วยใหญ่ที่สุดเทศบาลปารีสก็เท่ากับเทศบาลเล็กๆ ฝรั่งเศสไม่ประสบความสำเร็จในการรวมเทศบาล ของไทยเอามาจากญี่ปุ่นที่เป็นสามชั้น แต่ฝรั่งเศสเท่ากันทำให้ทุกหน่วยเสมอกัน เป็นแนวคิดที่เกิดความเป็นพี่น้องกันในหลักภราดรภาพ ทำให้เทศบาลทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี ในกฎหมายเรียกสหการขององค์กรปกครองท้องถิ่น
สหการแปลว่าอทป.มากกว่าสองแห่งมาทำงานร่วมกัน ร่วมมือกันหมายความว่า ต้องส่งทั้งคนและงบประมาณมาช่วย สิ่งที่ทำแล้วจะไม่ทำอีกหรือไม่ทำเดี่ยวคนเดียว ต้องทำโดยองค์กรกลาง ฝรั่งเศสจึงมีสหการท้องถิ่นที่รุ่งเรืองที่สุด โดยเฉพาะสหการพนักงานองค์กรปกครองท้องถิ่น แต่ของไทยเน้นท้องถิ่นแต่ละแห่งทำเอง ไม่ให้ท้องถิ่นสละอำนาจให้กับองค์กรกลางซึ่งเป็นของท้องถิ่น ทำให้ฝรั่งเศสยุบรวมท้องถิ่นไม่ได้ เห็นชัดว่า 7 เทศบาลทำบ่อบำบัดน้ำเสียร่วมกัน ทุกแห่งส่งเงินและคนมา เสร็จแล้วให้สหการทำ
โครงสร้างภายในของฝรั่งเศส คนที่เป็นนายกสภาคือคนเดียวกับนายกเทศมนตรี ประธานสภาจังหวัดกับนายกฯรัฐมนตรี เป็นคนเดียวกันเพราะไม่มีแนวคิดเรื่องการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง เพราะแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยของฝรั่งเศส และมีหลักการมอบอาณัติโดยประชาชน มองเตสกิเออร์ใช้สำหรับการเมืองชาติ
นายกเทศมนตรีฝรั่งเศสเป็น สส.ได้ในเวลาเดียวกัน เป็นแม้กระทั่งประธานาธิบดีก็เป็นได้ เหมือนไทยเคยมีกฎหมายเทศบาลไทยฉบับแรกไม่ได้ห้ามสท.เป็นสส. แนวนี้จะทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง เริ่มแรกเราถอดแบบฝรั่งเศสมามาเปลี่ยนแปลงในตอนหลัง มีการสร้างคำอธิบายขึ้นมา เราต่างกับฝรั่งเศสตอนแรกคือไม่ทำให้เทศบาลมีระดับเท่ากันและตั้งขึ้นมาแค่ 120เทศบาล แต่ก็ไม่มีการส่งเสริมเทศบาลก่อนปี 2540 เหลือแค่ 140 แห่ง พออาจารย์ปรีดี หมดอำนาจ ทำให้การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นโครงสร้างภายในเป็นท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ไม่เลือกตั้งโดยตรง นายกฯเป็นประธานสภา เป็นสส. ทำให้ท้องถิ่นมีความเข้แข็ง สภาภาคกับจังหวัดก็มีมาตั้งแต่ปฏิวัติ จุดหัวเลี้ยวหัวต่อจริงคือ ปี 1982 อดีตนายกฯอบจ. นายฟรังซัวร์ มิเตอร์รองค์ขึ้นเป็นประธานาธิบดี จากพรรคสังคมนิยม ระบบฝรั่งเศสมี สว.กับสส. ประชาชนเลือกประธานาธิบดี และเลือกสภา ปธน.เลือกคนเป็นนายกรัฐมนตรีให้ไปประชุมสภาแทน ปธน.อยู่ได้สมัยและ 7 ปีได้สองสมัย ชาร์ล เดอร์โกลเป็นเจ้าของระบบที่สร้างขึ้นมาแทนระบบรัฐสภา เป็นระบบกึ่งประธานาธิบดีซึ่งพรรคสังคมนิยมไม่ให้การสนับสนุน การแบ่งหน้าที่ และใช้ระบบสหการ
ฝรั่งเศสเป็นแม่แบบของการแบ่งงานท้องถิ่น แต่ของไทยกระทรวง กรมเป็นผู้ถือครองกฎหมาย จึงแบ่งงานหรือถ่ายโอนยาก
ประชาธิปไตยสมัยใหม่ เป็นประชาธิปไตยตัวแทน โบราณแบบทางตรง สมัยใหม่ต้องเลือกตั้ง แยกอำนาจ มีรัฐธรรมนูญ และนิติรัฐ โดยองค์กรอิสระทำการตรวจสอบ กับการทบทวนความถูกความชอบด้วยกฎหมาย Judicial review โดยมีศาลรัฐธรรมนูญมาตีความ หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมามีการใช้หลักนี้ ซึ่งประเทศอเมริกาใช้ระบบนี้ด้วยความเข้มแข็ง
รัฐธรรมนูญไทยมีสามกลุ่มคือ เผด็จการ ประชาธิปไตยแบบเก่า และประชาธิปไตยแบบใหม่ (นิติรัฐกับ Judicial review)

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วิธีการโพสข้อความ

ถึงเพื่อนๆ ทุกคน ผมลองตรวจสอบดูแล้ว ที่เคยบอกในชั้นเรียนว่าจะต้องมีบัญชีอีเมลล์ของ Gmail นั้น ปรากฎว่าไม่ใช่ครับ จริงแล้วคือ Blog เขาให้แสดงความคิดเห็นเท่านั้น เจ้าของ Blog ต้องเป็นผู้ใส่บทความหรือตั้งประเด็นเอง เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่สามารถมีส่วนร่วมได้ ด้วยเหตุนี้ขอให้เพื่อนๆ ใช้ Acoount ต่อไปนี้ในการเข้าไปโพสข้อความหรือบทความนะครับ Username คือ Apirath42 และ Password คือ Montri ขอให้ใช้เหมือนกันทุกคนนะครับ แล้วช่วยกันหาบทความดีๆ มาลงให้เพื่อนอ่านด้วยนะ

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากการวิเคราะห์เอกสารเป็นหลัก ประกอบกับขอบเขตของการศึกษามีความชัดเจน คือศึกษานโยบายต่างประเทศของไทยที่มีประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดกันในบริบทของหลังศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา เครื่องมือในการวิเคราะห์จึงควรจะใช้แนวคิดทฤษฎีที่ร่วมสมัยและยังนิยมใช้วิเคราะห์สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอยู่ เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่เป็นปัจจุบันและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้เช่น แนวคิดสัจนิยม (Realism) หรือสัจนิยมเชิงโครงสร้าง (structural realism) ซึ่งมองว่า รัฐเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ และเชื่อว่ารัฐมีธรรมชาติสองแบบคือ รัฐที่ขยายความมั่นคงสูงสุด (defensive realism) และรัฐที่ขยายอำนาจสูงสุด (offensive realism) หรือที่เรียกว่า รัฐนิยม (statism) นอกจากนี้แนวคิดสัจนิยมนี้ยังให้ความสำคัญกับเป้าหมายของรัฐที่สำคัญประการอื่นเช่น หลักความอยู่รอด (survival) หลักการช่วยตัวเอง (self-help) แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ทฤษฎีเกม Game Theory เป็นทฤษฎีแนวพฤติกรรมศาสตร์ (Behaviorism) ที่นำมาปรับใช้กับการวิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือแม้กระทั่งการประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจและนโยบายสาธารณะ ซึ่งมีทั้ง ทฤษฎีเกมที่เป็น “ตรรกะเชิงตัวเลข” (Logical Mathematic Approach) และทฤษฎีเกมที่เป็นแนวประจักษนิยม (Experimental Approach) สเน่ห์ของการใช้ทฤษฎีเกมส์อยู่ที่การนำไปสู่ผลลัพท์ของการวิเคราะห์ ซึ่งออกมาเป็นสองแนวทางคือ “แนวทางเกมศูนย์” (Zero Sum Game) และ “แนวทางเกมไม่ศูนย์” (Non-zero Sum Game) หรือที่นิยมเรียกว่าเป็น “เกมบวก” (Positive Sum Game) และ “เกมลบ” (Negative Sum Game) นั่นเอง อย่างไรก็ตามการใช้ทฤษฎีเกมส์อย่างมีอำนาจในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนี้ มักนิยมใช้วิเคราะห์จากสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น หรือมีโจทย์ปัญหาเกิดขึ้นเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์ จึงจะทำให้แนวทางของทฤษฎีเกมส์เด่นชัดกว่าการพยายามจะอธิบายความเป็นไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภาวะปกติ
นอกจากนี้ยังใช้แนวคิดทฤษฎีอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์และยังร่วมสมัยมาประกอบการวิเคราะห์ในครั้งนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดเรื่องความขัดแย้งทางวัฒนธรรม(cultural conflicts) แนวคิด ลัทธิสัจนิยมใหม่ (Neo-Realism ) แนวคิดเรื่องการปะทะกันทางอารยธรรม (clash of civilizations) ของ Huntington แนวคิดเสรีนิยมบนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งมีการแตกย่อยออกเป็น เสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) และเสรีนิยมสันติประชาธิปไตย (democratic peace liberalism)

ประเมิน 2 ปี นโยบายต่างประเทศรัฐบาลทักษิณ

ประเมิน 2 ปี นโยบายต่างประเทศรัฐบาลทักษิณ รูปธรรมของการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจ(1)

โดย วิทวัส ศรีวิหค สำนักนโยบายและแผนกระทรวงการต่างประเทศ มติชนรายวัน วันที่ 13 มีนาคม 2546

ผมอ่านหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 10 มีนาคม 2545 ลงบทความของ รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลทักษิณ ในรอบ 2 ปี ให้เกรดรวมเป็นเกรด C นั้น ผมเห็นว่า ผู้อ่านควรได้รับทราบข้อเท็จจริงมากกว่านี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

ความจริงแล้ว ข้อมูลที่จะนำมาเล่าให้ฟังต่อไปนี้สามารถตรวจสอบหาอ่านได้ จากแหล่งข่าว websites ต่างๆ โดยเฉพาะของกระทรวงการต่างประเทศ จึงขอระบุเฉพาะของจริงที่เกิดขึ้น ในการดำเนินการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจที่เป็นผลงานของนโยบายต่างประเทศรัฐบาล ดังนี้

การเจรจาเขตการค้าเสรี(Free Trade Agreement FTA)

FTA เป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ที่มอบให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันปฏิบัติ โดยมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้นำเคาะประตูประเทศต่างๆ ในการเจรจากรุยทาง เพื่อนำไปสู่ความเห็นพ้องร่วมกันก่อนที่จะจัดทำข้อตกลงฯ หลังจากนั้น จะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้เจรจาในรายละเอียด โดยมีกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพหลักในการเจรจารายละเอียดของสินค้าและบริการ และมีผู้แทนของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมในการเจรจา

ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีมอบรัฐมนตรีต่างประเทศไปอินเดียเพื่อกรุยทางเรื่องการจัดทำ FTA ไทย-อินเดีย รัฐมนตรีต่างประเทศได้หยิบยกเรื่อง FTA กับรัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 11-14 ก.ค.44 จากนั้นในระหว่างการเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการของท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้เห็นชอบเรื่องนี้ กับท่านนายกรัฐมนตรีอินเดียเมื่อวันที่ 26-29 พ.ย.2544 และ 1 ก.พ.2545

กับญี่ปุ่นหลังจากได้ให้กระทรวงการต่างประเทศได้ทาบทามความเห็นฝ่ายญี่ปุ่นระยะหนึ่งแล้วท่านนายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ ได้เห็นชอบให้มีการจัดทำ FTA ในกรอบที่เรียกว่า การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ไทย-ญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ หุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(Japan-Thailand Economic Partnership หรือ JTEP) ในระหว่างที่นายกรัฐมนตรีทั้งสองพบกันที่เกาะไหหลำคราวเข้าร่วมประชุม Boao Forum For Asia เมื่อวันที่ 12 เม.ย.2545 และเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศทั้งสองประเทศ เป็นผู้ประสานงานเตรียมการเจรจาอย่างเป็นทางการ

ขณะนี้ คณะทำงานดังกล่าว ของฝ่ายไทยนำโดย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเปิดให้ภาคเอกชนและนักวิชาการเข้าร่วมด้วยนั้น จะพบกันที่กรุงโตเกียวเป็นรอบที่ 4 คาดว่า การเจรจาอย่างเป็นทางการจะเริ่มในครึ่งหลังของปี และสิ้นสุดในปลายปีนี้

กับ บาห์เรน ออสเตรเลีย สหรัฐ ก็เป็นไปตามแนวทางที่ท่านนายกฯมอบไว้คือ รัฐมนตรีต่างประเทศเป็นผู้นำไปปฏิบัติในการทาบทามกรุยทาง เมื่อมีลู่ทางเป็นไปได้แล้วนายกรัฐมนตรีก็จะหารือเพื่อความเห็นชอบจากผู้นำประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบด้านการค้าก็จะเป็นเจ้าของเรื่อง เป็นผู้เจรจาในด้านเทคนิคพร้อมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

มีการฟื้นฟูและยกระดับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้นโยบายขยายสัมพันธ์เชิงรุก(Forward Engagement) ซึ่งทำให้สถานะความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านพัฒนารุดหน้าในด้านต่างๆ เกิดความไว้วางใจและความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ตัวอย่างที่เห็นคือ

กับพม่า รัฐบาลสามารถคลี่คลายสถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณชายแดนและเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างผู้นำ จนนำไปสู่ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ เห็นได้จากการเยือนของบุคคลระดับสูงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ ด้านยาเสพติด สามารถเชิญชวนให้พม่าเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือ 4 ฝ่าย(ไทย พม่า จีน ลาว) และเมื่อเร็วๆ นี้ ในระหว่างการเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการ ที่กรุงนิวเดลี 1 ก.พ.45 อินเดียก็พร้อมเข้าร่วมด้วยอีกประเทศหนึ่ง

มีความเห็นชอบกับพม่าในการสร้างสะพานแห่งที่ 2 ข้ามแม่น้ำแม่สาย

รัฐบาลไทยกำลังให้ความช่วยเหลือพม่า ทั้งแบบให้เปล่า และเงินกู้ในการเชื่อมเส้นทางทั้งจากแม่สอด เมียวดี-พะอัน

รัฐมนตรีต่างประเทศได้เป็นผู้ริเริ่มร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศพม่า และอินเดีย ในการจัดกรอบการประชุมเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างไทย-พม่า-อินเดีย อันจะเป็นส่วนสำคัญที่มาเชื่อมต่อ East-West Corridor ที่ไทยมีบทบาทสำคัญ

นอกจากนี้ พม่ายังได้แสดงความขอบคุณไทยที่มีสิ่งที่ดีๆ ต่อการเสริมสร้างกระบวนการปรองดองแห่งชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจของพม่าอีกด้วย

กับลาว และเวียดนาม มีการแก้อุปสรรคต่างๆ เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางจากมุกดาหาร ไปออกทะเลจีนใต้ที่เมืองดานัง จนลงนามความตกลงต่างๆ เกี่ยวกับการก่อสร้างได้หมดแล้ว

ในระหว่างการประชุมทั้งในกรอบคณะกรรมาธิการร่วม(Joint Committee-JC) และคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม(Joint Border Committee-JBC) ร่วมกับประเทศลาวนั้น ทุกหน่วยงานยอมรับว่าเป็นไปได้ด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตรและมีความร่วมมือ การเจรจาเส้นเขตแดนมีความคืบหน้า ในปีที่ผ่านมาสามารถจัดทำหลักเขตแดนได้เพิ่มขึ้นอีก 23 หลัก ระยะทางประมาณ 109.5 กิโลเมตร ขณะนี้ได้ 171 หลัก ระยะทาง 667 กิโลเมตร ของความยาวเขตแดนทางบก 702 กิโลเมตร โดยทั้งสองฝ่ายมีแผนที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2546 ซึ่งรวมถึงการสำรวจและจัดทำเขตแดนทางน้ำด้วย

ไทยให้เงินกู้แก่ลาวในการสร้างทางเชื่อมเชียงของ ผ่านลาวไปสู่ยูนนาน ซึ่งเป็นโครงการที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย-ADB ยกย่องว่าเป็นตัวอย่างของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS) และลาวให้ความร่วมมือแข็งขันในการเชื่อมต่อการขนส่งและการท่องเที่ยวผ่านทางแม่น้ำโขง นอกจากนี้ ลาวขยายเวลาเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่หนองคายอีก 2 ชั่วโมงอีกด้วย

กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ผลักดันในการจัดสร้างศูนย์ส่งเสริมการส่งออกสินค้าลาวที่เวียงจันทน์ เพื่อขยายความร่วมมือทางการค้าสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น และไทยให้ความช่วยเหลือในการสร้างหอพักนอนของนักเรียนที่โรงเรียนบ่อแก้ว แขวงไชยะบุรี เพื่อส่งเสริมมิตรภาพในระดับประชาชนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

กับกัมพูชา นอกเหนือจากการที่สมเด็จนโรดมสีหนุได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สหไมตรี ให้แก่ ท่านนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศ ในฐานะบุคคลที่ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสอง เมื่อ 11 ต.ค.44 แล้ว ไทย-กัมพูชา ยังมีความร่วมมือที่แสดงถึงพัฒนาการของความสัมพันธ์ในมิติใหม่ๆ เห็นได้จากผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเมื่อวันที่ 6-7 ธ.ค.2544 ไทยกับกัมพูชาเริ่มมีการตั้งคณะกรรมการเจรจาเขตทับซ้อนทางทะเลอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก โดยมีทั้งระดับรัฐมนตรี และระดับเจ้าหน้าที่เทคนิค ซึ่งกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กับกระทรวงอุตสาหกรรม รับผิดชอบอยู่

กัมพูชายังเป็นประเทศแรก ในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านที่ลงนามในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบครอบคลุมครบวงจร ซึ่งจะเป็นรูปแบบที่ไทยที่จะเสนอกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ นอกจากนี้ กัมพูชาเป็นประเทศที่ไทยให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ ทุนฝึกอบรมผ่านกรมวิเทศสหการเป็นจำนวนมาก

ในด้านการสร้างและซ่อมถนน ฝ่ายไทยให้ความช่วยเหลือ สำหรับเส้นทางตราด-เกาะกง-สแรอัมเปิล การตัดถนนผ่านช่องสะงำผ่านศรีสะเกษมาที่เมืองเสียมราฐ กล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ทั้งในภาพรวม และระดับต่างๆ เป็นไปอย่างแน่นแฟ้น

ส่วนเหตุการณ์การเผาสถานทูต และทรัพย์สินของเอกชนไทยในกรุงพนมเปญนั้น ผู้เขียนบทความซึ่งเป็นอาจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ และอดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ น่าจะทราบดีว่า มีสาเหตุมาจากการเมืองภายในของกัมพูชาเอง มิได้เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ดำเนินการทางทูตอย่างรวดเร็วและเต็มที่ในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นในภาครัฐและเอกชนไทย และให้ความช่วยเหลือคนไทยที่อาศัยอยู่ในกัมพูชาให้เดินทางกลับประเทศไทยได้อย่างปลอดภัย

ความร่วมมือในกรอบเอเชีย(ACD)

มีความคืบหน้าชัดเจนนับตั้งแต่การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2545 ที่ อ.ชะอำ ทั้งในส่วนของการหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศ ACD และในส่วนของความร่วมมือต่างๆ ในส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศ ACD ยังได้พบหารือกันต่อในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2545 สำหรับในเรื่องของความร่วมมือ ขณะนี้มีประเทศ ACD ต่างๆ อาสาเป็นผู้ขับเคลื่อนความร่วมมือในสาขาที่ตนเห็นว่ามีจุดแข็งน่าจะร่วมมือกันได้ในกรอบ ACD เช่น บาห์เรน และอินโดนีเซีย จะจัดประชุมเรื่องพลังงานในเดือนเมษายน 2546 บังกลาเทศกำลังจัดการประชุมเรื่องการแก้ไขความยากจนโดยพิจารณาปัญหาของการใช้แรงงานเด็กอยู่ในขณะนี้กรุงธากา สิงคโปร์ จะจัดประชุมหน่วยงานที่ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในเดือนพฤษภาคม 2546(รายละเอียดมีอยู่มากใน website กต. www.mfa.qo.th. คลิกเข้าไปที่กรอบความร่วมมือ ACD ได้)

ที่ผู้เขียนบทความได้ให้เกรด C ในเรื่อง ACD โดยกล่าวว่าแม้รัฐบาลจะจัดประชุมครั้งแรกได้ ก็เป็นไปอย่างทุลักทุเลนั้น ข้อเท็จจริงเป็นไปอย่างตรงกันข้าม เพราะจริงๆ แล้วฝ่ายไทย มีความลำบากใจที่จำเป็นต้องตอบปฏิเสธอีกหลายประเทศที่อยากเข้าร่วมประชุม

นอกจากนี้ ในกรณีของญี่ปุ่นที่ผู้เขียนไม่ทราบได้ข้อมูลมาแบบใด ว่าต้องมาแบบเสียไม่ได้นั้น ข้อเท็จจริงคือ รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ติดประชุมสภา แม้แต่การไปร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป ที่กรุงมาดริดในช่วงต้นเดือนมิถุนายนก็ยังไปไม่ได้ แต่เพื่อต้องการแสดงบทบาทของญี่ปุ่นในกรอบความร่วมมือในเอเชีย จึงได้ขออนุญาตรัฐสภาเข้าร่วมประชุมตั้งแต่ต้นจนจบ และรัฐสภาได้อนุญาตเพราะเห็นว่าเป็นการประชุมที่สำคัญยิ่ง

ผมขออนุญาตนำเรื่องบนโต๊ะอาหารในคืนวันแรกที่ท่านนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เลี้ยงเป็นเกียรติแก่ผู้เข้าร่วมประชุมมาเล่าสู่กันฟังว่า รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ได้แจ้งที่โต๊ะอาหารต่อหน้าบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศ ACD ทั้งหลายว่า ในอนาคตประวัติศาสตร์จะต้องจารึกว่า วันนี้ ณ สถานที่แห่งนี้ คือจุดเริ่มของความร่วมมือเอเชียครั้งสำคัญ และรู้สึกชื่นชมต่อประเทศไทยที่เป็นผู้นำและริเริ่มในเรื่องนี้ โดยเห็นว่า การที่ประเทศเอเชียมีการหารือกันทำนองนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก ขอให้ ACD รักษาลักษณะเช่นนี้ไว้ เรื่องนี้นักวิชาการมักมองว่าเป็นเวทีคุย(talk shop) ไม่ได้ประโยชน์ แต่จริงๆ แล้ว เอเชียต้องคุยกันมากๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและสนิทสนมกันให้มากกว่าที่เป็นอยู่

นอกจากนี้ ในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก เมื่อ ก.ย.44 รัฐมนตรีต่างประเทศเกือบทุกประเทศ รวมทั้งญี่ปุ่น จีน อินเดีย ก็ได้เข้าร่วมการประชุมที่เรียกว่า ACD Breakfast Meeting ซึ่งแสดงถึงความสนใจและความกระตือรือร้นของประเทศสมาชิก ACD ในการผลักดันแนวคิดของไทยให้เป็นรูปธรรม การหารือกันในครั้งนี้ยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์อิรักอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย เพราะอย่าลืมว่า ACD มีประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคต่างๆ ของเอเชีย มีทั้งประเทศที่มีประชากรพันล้าน มีทั้งประเทศที่เป็นมุสลิม มีทั้งประเทศที่เป็นยักษ์ใหญ่เศรษฐกิจ

สำหรับการเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้นั้น ผู้เขียนน่าจะสอบถามเพื่อนฝูงในกระทรวงการต่างประเทศว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือมีหลายประเทศเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพ แต่ความเห็นของรัฐมนตรีต่างประเทศ ACD ส่วนใหญ่ ขอให้ไทยในฐานะผู้ประสานงานรับต่อไปอีก 1 ปีก่อน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าตามองค์ประกอบของ ACD อาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ก็มีบทบาทสำคัญเป็นแกนของ ACD อยู่แล้ว

การที่ผู้เขียนเสนอว่าควรจะพัฒนา ACD ไปจาก ASEAN+3 หรือ ASEAN+4 ที่มีอินเดียด้วยนั้น คงเป็นคนละเรื่องกัน เพราะ ASEAN+3 และ ASEAN+1 ที่มีอินเดียร่วมด้วย เป็นคนละเรื่องกับ ACD และ ASEAN+4 ก็ยังไม่ได้มีอยู่ในสารบบขณะนี้ เพราะ ASEAN มีความสัมพันธ์ในกรอบ ASEAN+3 และ ASEAN+1

หน้า 7


ประเมิน 2 ปี นโยบายต่างประเทศรัฐบาลทักษิณ รูปธรรมของการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจ (2)

โดย วิทวัส ศรีวิหค สำนักนโยบายและแผน กระทรวงการต่างประเทศ มติชนรายวัน วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2546

บทบาทไทยในกรอบอาเซียน

บทความดังกล่าวยังเห็นว่าไทยไม่มีบทบาทเด่นในอาเซียน และแทบไม่มีข้อเสนอในอาเซียนอันเป็นความล้มเหลวของนโยบายต่างประเทศไทยนั้น ข้อเท็จจริง ก็คือ

ไทยไม่มีความทะเยอทะยานจะเป็นผู้นำอาเซียนในลักษณะที่ผู้เขียนนึกคิด สิ่งที่รัฐบาลมุ่งหมายและดำเนินการมาโดยตลอดคือ การผลักดันให้อาเซียนมีความเข้มแข็งทั้งภายในอาเซียนและภายนอก ซึ่งก็คือความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียใต้

ไทยสนับสนุนการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียน กับญี่ปุ่น จีนและอินเดีย แม้แต่ผู้นำเช่น อินเดีย และจีน ก็กล่าวขอบคุณไทยในบทบาทนี้ต่อหน้าสาธารณชน

ไทยเป็นผู้ผลักดันให้เขตการค้าเสรีอาเซียน(ASEAN Free Trade Area - AFTA) มีความศักดิ์สิทธิ์ เช่น การขอให้มาเลเซียปฏิบัติตามความตกลงในกรอบ AFTA

ไทยผลักดันอย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องของการลดช่องว่างของประเทศสมาชิก ผ่านกลไกข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initative for ASEAN Integration - IAI และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS)

ไทยผลักดันบทบาทของ ARF โดยสนับสนุนให้ประธาน ARF คือ รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา มีบทบาทในการลดความตึงเครียดของสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี

ในช่วงหลังของเหตุการณ์ 11 ก.ย. ไทยผลักดันให้เกิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศในลักษณะ retreat ที่ภูเก็ต เพื่อให้อาเซียนสามารถผนึกกำลังแสดงบทบาททางการเมืองของตนในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย

ไทยจะร่วมมือกับสิงคโปร์ในการจัด ASEAN Show case ในระหว่างการประชุมผู้นำ APEC เดือนตุลาคมนี้ ซึ่งจะเป็นการนำจุดเด่นทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้ปรากฏอย่างชัดเจนในสายตาผู้นำเศรษฐกิจ และผู้นำ CEO ทั่วโลก ที่จะมาชุมนุมกันในกรุงเทพฯ กว่า 500 คน

นอกจากนี้ ไทยยังร่วมมือกับสิงคโปร์ในการชี้นำอนาคตของอาเซียนที่จะเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของการเป็นชุมชนด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับการตอบสนองอย่างดีจากผู้นำสหภาพยุโรป ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหภาพยุโรป (AEMM) ที่กรุงบรัสเซลส์ ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมที่ผ่านมา

สหภาพยุโรป

ที่ผู้เขียน กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้ มิได้ให้ความสำคัญกับ EU และความสัมพันธ์กับ EU ไม่มีอะไรเด่น จึงให้ เกรด D ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าท่านนายกรัฐมนตรี ได้ไปเยือน EU อย่างเป็นทางการเมื่อ 13 มิ.ย. 2545 และได้ออกแถลงการณ์ร่วมกับประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อกำหนดแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคต ซึ่งมีประเด็นสำคัญ 4 ประการ คือ

1.ไทยและคณะกรรมาธิการยุโรปควรกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในภูมิภาคเอเชียและในระดับระหว่างประเทศ เช่น ความร่วมมือในกรอบ WTO ในประเด็นที่เป็นความท้าทายระหว่างประเทศ อาทิ การต่อสู้กับการก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น

2.คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นว่า ไทยมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค

3.ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะพิจารณาความเป็นไปได้ในการทำความตกลงด้านความร่วมมือ(Cooperation Agreement) ระหว่างกันในอนาคตอันใกล้ เพื่อใช้เป็นช่องทางผลักดันความร่วมมือในทุกด้านในระยะยาว โดยเฉพาะด้านการค้า การลงทุน SMEs มาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ความปลอดภัยอาหาร และการวิจัยพัฒนา

4.ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะยกระดับกลไกการหารือระดับทวิภาคีระหว่างกัน โดยให้มีการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และกรรมาธิการยุโรปด้านการต่างประเทศ และให้จัดตั้งกลไกการประสานงานเพื่อติดตามการดำเนินโครงการความร่วมมือที่มีระหว่างกัน

สำหรับประเด็นการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี(FTA) กับสหภาพยุโรป ตามที่บทความได้วิพากษ์ วิจารณ์นั้น แม้ว่าในภาพรวม สหภาพยุโรปจะยังไม่มีนโยบายพิจารณาจัดทำ FTA กับประเทศที่สามจนกว่าการเจรจาการค้ารอบ Doha จะเสร็จสิ้นลง ในการเดินทางไปประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2546 ที่กรุงบรัสเซลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้พยายามผลักดันประเด็นดังกล่าว โดยได้มีแถลงการณ์ภายใต้หัวข้อ "พัฒนาการในอาเซียน" ในการประชุมดังกล่าว โดยเน้นว่าความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนกำลังมุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาการ ที่ไม่จำกัดเฉพาะการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน แต่ได้มุ่งไปสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community:AEC) อีกทั้งการขยายความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาในรูปของ FTA และ Closer Economic Partnership (CEP) กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย

อย่างไรก็ดี ล่าสุด นายปาสกาล ลามี กรรมาธิการยุโรปด้านการค้า ได้แสดงความตั้งใจ ที่จะผลักดันข้อเสนอการจัดทำกรอบความร่วมมือทางการค้ากับอาเซียน ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม โดยจะเริ่มจากสาขาที่มีความพร้อม และมีความสนใจร่วมกันก่อน ซึ่งนายลามี จะนำประเด็นนี้ไปหารือกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่หลวงพระบางในเดือนเมษายน 2546 ซึ่งกรอบความร่วมมือดังกล่าวจะนำไปสู่การทำความตกลงในลักษณะ Preferential Regional Trade Agreement (PRTA) ต่อไป

ทีมไทยแลนด์/ออท. CEO

ในเรื่องนี้ ผู้เขียนบทความดังกล่าว เห็นว่า เป็นเรื่องผักซีโรยหน้า กฎหมายรองรับก็ไม่มีอยากขอให้ไปอ่าน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะหมวด 7(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ว่าด้วยเรื่อง การบริหารราชการในต่างประเทศ ซึ่งเป็นหมวดสำคัญที่รัฐบาลจัดทำขึ้นเพื่อรองรับการปฏิรูประบบบริหารราชการในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

และเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา ท่านนายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานในการประชุมรัฐมนตรีและหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดทั้งหมดที่มีสำนักงานในต่างประเทศ โดยมีนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนกลไก จัดวางยุทธศาสตร์ให้เหมาะสม ตลอดจนเสริมทัพผู้ที่จะไปปฏิบัติราชการประจำในต่างประเทศ(revamp) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของไทย

สำหรับโครงการ ออท. CEO ทาง กต. ก็ได้ขอให้สถาบันสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. จัดทีมนักวิชาการ นำโดย ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กพร.มาประเมินผล ขณะนี้การทำงานมีความคืบหน้าเป็นอย่างยิ่ง ปลายปีนี้โครงการ ออท. CEO จะขยายผลใช้กับสถานทูต สถานกงสุล ของเราทุกแห่งในโลก

ในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาการแบ่งบทบาทการดำเนินการระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับกระทรวงพาณิชย์ นับเป็นเรื่องที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่เสมอๆ เพราะบทบาทของแต่ละกระทรวงในด้านเศรษฐกิจมีความชัดเจนว่า กระทรวงการต่างประเทศรับผิดชอบในเรื่องของการวางกรอบความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ และเมื่อมีกรอบที่ชัดเจน กระทรวงพาณิชย์จะมีหน้าที่สำคัญในด้านการเจรจาทางการค้า และการส่งเสริมสินค้าส่งออก ซึ่งเรื่องนี้ ในการประชุม APEC จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ประสานงานในด้านสารัตถะ และด้านการจัดประชุมในกรอบกว้างทั้งหมด ส่วนในเนื้อหาสาระเฉพาะเรื่อง เช่นในด้านการค้า จะเป็นภารกิจของกระทรวงพาณิชย์ และด้านอื่นๆ ก็เป็นของกระทรวงที่เกี่ยวข้องชำนาญการในด้านนั้นๆ ไม่มีเรื่องใดต้องมาแย่งกันอย่างที่เข้าใจ

บทบาทของไทยในเวทีโลก

ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา บทบาทของไทยในเวทีโลก มีความโดดเด่นอย่างชัดเจนและเป็นที่ยอมรับขององค์การระหว่างประเทศตลอดจนประเทศต่างๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ การเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศติมอร์ตะวันออก ซึ่งนอกจากในกรอบของสหประชาชาติแล้ว ไทยยังได้ให้ความร่วมมือในกรอบทวิภาคีโดยผ่านโครงการความช่วยเหลือต่างๆ ด้วย

ในกรณีของอัฟกานิสถาน ประเทศไทยก็ได้เข้าไปมีบทบาทในการฟื้นฟูประเทศทั้งในด้านการกู้กับระเบิด และในเรื่องโครงการปลูกพืชทดแทน การสร้างเศรษฐกิจในป่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายยอมรับ

นอกจากนั้น ยังมีตัวอย่างของการเจรจาสันติภาพในศรีลังกา ซึ่งไทยได้เข้าไปมีบทบาทเช่นกัน

การยอมรับในบทบาทของไทยเห็นได้ชัดเจน จากกรณีที่เมื่อผู้นำประเทศไทยได้ไปประชุมระหว่างประเทศครั้งใดจะได้รับการยกย่องในท่าทีของไทย และจะมีผู้นำประเทศอื่นต้องการจะเข้ามาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันเป็นจำนวนมาก

ล่าสุดในการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2546 เป็นต้น ทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หารือทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ถึง 19 ประเทศ

ด้านการลงทุน ความไม่มั่นใจของนักลงทุนต่อนโยบายการลงทุนของไทยเกิดขึ้นจากความเข้าใจที่ไม่ตรงกันของแต่ละบุคคล ซึ่งรัฐบาลได้ย้ำอย่างชัดเจนมาโดยตลอดว่า ไทยจะมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานรากในระดับประชาชน ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจเสรีภายนอกประเทศอย่างเกื้อกูลและสมดุล ทั้งนี้ เพื่อให้โครงสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศมีความแข็งแกร่งและเป็นภูมิคุ้มกันจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ทำความเข้าใจเรื่องนี้กับภาครัฐ และเอกชนต่างประเทศมาโดยตลอด

นอกจากนี้ จากการดำเนินนโยบายการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจของไทยที่มุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ มากขึ้น ภายใต้นโยบาย Forward Engagement ยังช่วยให้ภาคเอกชนไทยมีลู่ทางในการลงทุนและทำการค้าในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เช่น นักลงทุนไทยได้งานก่อสร้างในกาตาร์ หรือการที่ภาคเอกชนไทยสามารถส่งออกสินค้าไปต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นซึ่งหากความสัมพันธ์ในภาพรวม และบรรยากาศทางการเมืองไม่ได้รับการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นแล้วโอกาสที่จะส่งออกสินค้าเพิ่มมากขึ้นก็จะไม่มีตามมา

ทั้งหมดนี้คือของจริงที่เกิดขึ้นภายใต้การทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจ ในด้านอื่นๆ ยังมีอีกที่จะเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการทูตภาคประชาชน การส่งเสริมและคุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ โดยสรุป ผมอยากให้ผู้อ่านได้รับทราบข้อเท็จจริงมากขึ้นเพื่อประกอบการประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา สำหรับนักวิชาการก็ต้องช่วยกันประเมินโดยค้นคว้าข้อมูลให้รอบคอบ มีหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์และนำเสนอที่ปราศจากอคติ หรือ ความรู้สึกส่วนตัว เพราะท่านทำในนามสถาบันวิชาการอันทรงเกียรติไม่เช่นนั้น ผู้อ่านอาจจะให้เกรด F แก่บทความท่านได้

นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลทักษิณ

"การประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลทักษิณในรอบ 1 ปี "

ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (Center for International Policy Studies : CIPS ) ขอนำเสนอบทวิเคราะห์ของ ผศ.ดร. ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เกี่ยวกับการประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลทักษิณในรอบ 1 ปี ดังนี้

1.ภาพรวม

รัฐบาลชุดนี้ต่างจากรัฐบาลชุดที่แล้วอย่างไร ที่ชัดเจน คือ การกลับมาเน้นให้ความสำคัญกับความ สัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ระหว่างเอเชีย ลดความสำคัญของประเทศตะวันตก เช่น การปรับความสัมพันธ์กับประเทศพม่า การเดินทางไปเยือนจีนหลายครั้ง และแทบจะไม่ให้ความสำคัญกับอเมริกา จนเมื่อเหตุการณ์ 11 กันยายน จึงถูกบีบให้ร่วมมือกับอเมริกา ซึ่งรัฐบาลทักษิณก็ดูไม่ค่อยจริงใจและเต็มใจเท่าไหร่ และที่ไปอเมริกาก็ไปเป็นประเทศสุดท้าย นอกจากนี้รัฐบาลชุดนี้ยังไม่ให้ความสำคัญ กับเรื่องสิทธิมนุษยชน (ซึ่งก็ต่างจากสมัยรัฐบาลชวน) และยังมีกระแสของนโยบายชาตินิยม เอเชียนิยม ภูมิภาคนิยม อีกด้วย

2. ตอนที่ ดร. สุรเกียรติ์ เข้ามาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศใหม่ๆ มีการแถลงข่าวว่า รัฐบาลจะเน้นประเด็นต่างๆ 8 เรื่องด้วยกัน ซึ่งผมจะย้อนกลับไปดูว่า 8 เรื่องที่จะทำนั้น ตอนนี้ทำไปถึงไหนแล้ว

2.1 นโยบายต่างประเทศจะครอบคลุมมิติต่างๆ คือไม่ใช่นโยบายต่างประเทศของกระทรวงต่างประเทศเท่านั้น แต่จะเป็นนโยบายต่างประเทศที่เน้นในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การคมนาคม การท่องเที่ยว และเรื่องอื่นๆ ซึ่งมีหลายมิติ เท่าที่ติดตามดูทางกระทรวงต่างประเทศ ก็พยายามเน้นหลายมิติ เวลาไปไหนก็จะมีพูดถึงเรื่องการค้า และความร่วมมือในด้านต่างๆ ซึ่งมิติต่างๆ ที่ออกมาค่อนข้างชัดเจนกว่าสมัยรัฐบาลชวน รัฐบาลชุดนี้โดยเฉพาะกระทรวงต่างประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าในสมัยรัฐบาลชวน

2.2 การทูตเชิงเศรษฐกิจ (economic diplomacy) นโยบายต่างประเทศเน้นเรื่องเศรษฐกิจ สังเกตได้ว่า เวลาไปเยือนที่ไหนก็ตามจะเน้นเรื่องเศรษฐกิจ และจะมีผลงานที่เป็นความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจที่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ว่าจะไปญี่ปุ่น จีน อินเดีย หรือ ประเทศเพื่อนบ้าน จะเห็นว่าค่อนข้างจะมีอะไรที่เป็นรูปธรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง ในเรื่องเศรษฐกิจยังแบ่งเป็นเรื่องการค้า การลงทุน การเงิน ซึ่งการลงทุนตอนแรกมีปัญหามาก โดยเฉพาะช่วงแรกๆที่ท่านนายกฯ ไปกล่าวสุนทรพจน์ที่ ESCAP และมีการตีความกันว่า รัฐบาลมีนโยบายต่อต้านการลงทุนจากต่างชาติ มีลัทธิชาตินิยมจัด ทำให้ต่างชาติเริ่มไม่มั่นใจที่จะมาลงทุนในไทย ทำให้ตอนหลังท่านนายกฯ ต้องไปพูดแก้ที่ ฮ่องกง ในช่วงแรกๆ บรรยากาศการลงทุนไม่ดีเลย จนหลังๆค่อยกระเตื้องขึ้น นิ่งขึ้น ในแง่ของนโยบาย บรรยากาศของการลงทุนและนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมการลงทุน

2.3 ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน จะเห็นได้ชัดว่า เมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศก็พยายามจะปรับความสัมพันธ์กับประเทศพม่า มีการเดินทางไปเยือนพม่า ผู้นำพม่าก็เดินทางมาเยือนไทย ซึ่งรู้สึกว่าความสัมพันธ์ก็ดีขึ้นโดยรวม ตอนนี้ก็นิ่งขึ้น แม้จะไม่มีอะไรโดดเด่นนัก แต่ก็ไม่ถึงกับเลวร้าย ถึงแม้ว่าที่รัฐบาลเคยบอกว่า จะมีการร่วมมือด้านการป้องกันยาเสพติด ตอนนี้ก็เงียบๆไป ซึ่งตอนแรกจะเน้นในเรื่องนี้มาก แต่ตอนนี้ดูเหมือนกับว่า พม่าไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ในตอนแรกก็ฮือฮากันว่า จะมีการประชุมสุดยอด 3 ฝ่าย 4 ฝ่าย แต่ตอนหลังก็เงียบไป ซึ่งผมคิดว่า พม่า จีน ลาว ก็คงไม่อยากจะร่วมด้วยเท่าไรนัก ซึ่งตรงนี้ต้องดูต่อไปว่าในที่สุดแล้วจะออกมาอย่างไร พรรคไทยรักไทยในช่วงหาเสียง เคยพูดกระทบพรรคประชาธิปัตย์ทางอ้อม โดยบอกว่าความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใช้นโยบายแบบตะวันตกไม่ดี จะต้องใช้แบบเอเชีย คือต้องมานั่งจับเข่าคุยกันในแบบเอเชีย จะต้องไม่ไปพูดถึงเรื่องภายในของเขา เรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ผมเห็นว่า ข้อเสีย คือกลายเป็นว่าเรื่องสิทธิมนุษยชน เราก็ปล่อยทิ้งไม่ให้ความสำคัญ เราก็เหมือนเป็นประเทศที่ไม่มีหลักการ

2.4 เรื่องกรอบรวม กรอบใหญ่ในเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue) มีอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน เรื่องหนึ่ง คือเรื่องที่ดร. สุรเกียรติ์ บอกว่าอยากจะสร้างความร่วมมือใหม่ โดยให้ไทยเป็นตัวเชื่อมระหว่างเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออก เวลาไปที่ไหนก็มีการเสนอความคิดนี้ เช่น เวลาไปจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ก็มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ และเท่าที่ดูจากสื่อ ประเทศเหล่านี้ก็ตอบรับ ยินดีที่จะร่วมมือกับไทยในการสร้างกรอบใหม่นี้ขึ้นมาและตรงนี้ก็ถือว่ามีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะยังไม่เป็นรูปร่างขึ้นมา แต่ก็มีความคืบหน้า รัฐบาลดูจะเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ อีกเรื่อง คือ เรื่องอาเซียน บทบาทของไทยในอาเซียนดูตกต่ำลงไป ถ้าเทียบกับรัฐบาลชุดก่อนๆ โดยเฉพาะรัฐบาลชวน จะเห็นว่าในช่วงเกือบปีที่ผ่านมา ไทยเราแทบจะไม่มีบทบาทอะไรในอาเซียนเลย เวลาไปประชุมเราก็ไม่ได้เสนออะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน หรือว่าเป็นความคิดริเริ่มที่จะทำให้ไทยมีบทบาทนำอะไรในอาเซียน เราเงียบๆในอาเซียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นความล้มเหลวของนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลชุดนี้

2.5 ดร.สุรเกียรติ์ ใช้คำว่า "Forward Engagement" นโยบายเกี่ยวพันในเชิงรุก คือ จะรุกไปสร้างกลไกใหม่ จะไปกระชับความสัมพันธ์สร้างกลุ่มใหม่ขึ้นมา ซึ่งคล้ายๆกับ Asia Cooperation Dialogue สำหรับโครงการความร่วมมือ ในกรอบเหลี่ยมเศรษฐกิจทั้งหลาย ซึ่งผมเห็นว่า รัฐบาลก็พยายามจะชุบชีวิตโครงการเหล่านี้ขึ้นมา อาทิ การจัดประชุมลุ่มแม่น้ำโขง แต่ว่าบรรยากาศไม่ให้ขณะนี้ ฟุบไปหมด คือ ชุบชีวิตไม่ขึ้น เพราะทุกประเทศก็กำลังแย่กันอยู่ แต่ก็ถือว่าเป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะชุบชีวิตโครงการเหล่านี้ที่เคยโดดเด่นมากๆ ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ แต่พอเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นมา ทุกอย่างก็ฟุบไปหมด และที่ดร.สุรเกียรติ์เคยพูดว่า จะสร้าง G ใหม่ขึ้นมา (ตอนนี้มี G7 G8 G20) แต่ว่าก็ยังเงียบๆอยู่ ผมไม่แน่ใจว่า G ใหม่ของดร.สุรเกียรติ์ คือ Asia Cooperation Dialogue หรือเปล่า ถ้าเป็นคนละอันกัน ก็หมายถึงว่า G ใหม่นั้นยังไม่เกิด ยังไม่มีอะไร

2.6 ไทยกับมหาอำนาจ

2.6.1 ไทยกับญี่ปุ่น ในตอนแรกไม่ค่อยมีอะไร ก่อนนายกฯ ทักษิณไปเยือน ก็ไม่มีความสัมพันธ์อะไรที่โดดเด่น แต่หลังไปเยือนญี่ปุ่นเมือเดือนที่แล้ว ก็ดูจะมีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง มีการลงนามในกรอบร่วมมือทางเศรษฐกิจทีเป็นกรอบความร่วมมือระยะยาวตั้งแต่ปีค.ศ.2001-2005 สมัยก่อนจะมีสมุดปกขาวไทยกับญี่ปุ่น ที่เป็นเรื่องของประเด็นต่างๆที่จะร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ แต่ก่อน จะไม่มีการเซ็นกัน คล้ายๆกับฝ่ายไทยทำแล้วเอาไปยื่นให้ญี่ปุ่น แล้วก็เอาไปเจรจากับญี่ปุ่น แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า ร่วมกันทำทั้ง 2 ฝ่าย เสร็จแล้วก็มาลงนามร่วมกัน ซึ่งน่าจะดูดีกว่าสมัยก่อน ซึ่งสมัยก่อนญี่ปุ่นก็บ่นมาตลอดว่า ไทยทำของเราขึ้นมาเองแล้วก็ไปเรียกร้องเขา ทำให้เขาเหมือนถูกมัดมือชก ความสัมพันธ์ไทยกับญี่ปุ่นอีกเรื่องหนึ่งที่อยู่ในกรอบนี้ บอกว่าจะมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อพิจารณาเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งก็คงอีกนาน อาจจะมีปัญหาหรือทำไม่สำเร็จ ซึ่งเราก็ยังไม่รู้ แต่อย่างน้อยก็มีความคิดริเริ่มนี้ขึ้นมา และถ้าสำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทยอย่างมากทีเดียว ทางด้านเศรษฐกิจ การค้า เพราะสามารถเจาะตลาดญี่ปุ่นได้มาก เพราะตอนนี้สินค้าเรามีปัญหากับตลาดญี่ปุ่นมาก ในเรื่องของการปิดตลาดของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าเกษตร ถ้าเป็นเขตการค้าเสรีก็จะดีขึ้นมาก แต่ตรงนี้ก็เป็นแค่จุดเริ่มต้น แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี มีความคืบหน้าที่ดี

2.6.2 อีกเรื่องคือ ไทยกับจีน ในบรรดามหาอำนาจด้วยกันทั้งหมด ความสัมพันธ์กับจีนจะมีความเป็นพิเศษมากที่สุด และไทยก็ให้น้ำหนักมากที่สุดในช่วงปีที่ผ่านมา อาจจะเป็นเพราะไทยเริ่มมองเห็นแววแล้วว่า จีนกำลังจะเด่นขึ้นมา คงจะเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งในเอเชียในอีกไม่นาน ซึ่งอาจจะแซงหน้าญี่ปุ่นในอนาคตด้วยซ้ำ ซึ่งตอนนี้อะไรๆ ก็ไปที่จีนหมด 70% ของการลงทุนในเอเชียไปที่จีน ในอาเซียนเหลือไม่ถึง 20% มันกลับตาลปัตรไปหมด ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ การลงทุนในเอเชียกว่า 60% มาอาเซียน แค่ 18% ไปจีนเท่านั้น พอเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นมา และจีนบูมขึ้นมา ตอนนี้กลายเป็นว่าการค้าการลงทุนไปจีนหมด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องปรับไปใกล้ชิดกับจีนไว้ ผมรู้สึกว่ารัฐบาลชุดนี้ก็มองเห็นโอกาสตรงนี้ และพยายามใกล้ชิดกับจีน การประชุมสุดยอดอาเซียนกับจีน ก็มีการตกลงว่า จะจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับจีนขึ้นมา และการที่จีนเข้า WTO ก็มีทั้งผลดีและผลเสีย ผลดีก็คือ จีนก็คงจะต้องเปิดตลาดให้มากขึ้น ให้เป็นไปตามกรอบของ WTO สินค้าเราก็จะเข้าไปในจีนมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน จีนก็จะมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ตลาดจีนก็จะยิ่งดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น และยิ่งเป็นคู่แข่งของไทยในเรื่องของการค้า การลงทุน มากขึ้นไปอีก ดังนั้นไทยจะต้องปรับตัว คือ เราคงจะไปแข่งกับจีนในตลาดล่างไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องปรับตัวขึ้นไปตลาดกลาง ตลาดบน โดยสรุป ภาพรวมความสัมพันธ์ไทยกับจีนก็ดูดีขึ้น และดูเด่นในช่วงเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา

2.6.3 อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ไทยกับตะวันตกก็ดูไม่ค่อยดีนัก และไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันในรอบปีที่ผ่านมา ไม่ว่ากับสหรัฐหรือยุโรป เราแทบจะไม่พูดถึงสหรัฐกับยุโรปเลย เราเน้นแต่เอเชีย เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่เป็นความล้มเหลวเรื่องหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐทรุดลงไป เพราะท่าทีของเราในเรื่องการสนับสนุนอเมริกานั้น ดูเขวดูรวนเรในตอนแรกๆ พอเกิดเหตุการณ์ขึ้น เราบอกว่าเราจะเป็นกลาง เสร็จแล้วก็ได้รับโทรศัพท์จากประธานาธิบดีบุช แล้วรัฐบาลก็ต้องรีบประชุมด่วน พอออกมาท่าทีก็เปลี่ยนไปว่าจะสนับสนุนสหรัฐอย่างเต็มที่ เมื่อมีเสียงต่อต้านจากชาวไทยมุสลิม รัฐบาลก็เปลี่ยนท่าทีอีก ท่าทีที่ 3 ก็คือ เราสนับสนุน UN เราปฎิบัติตาม พันธกรณีของ UN อาเซียน และเอเปค แต่ไม่พูดว่าเราสนับสนุนอเมริกาเลย จะพูดถึง UN ตลอด และก็มีเรื่องอู่ตะเภา เราก็คลุมเครืออีก อ้างว่าการใช้ที่ให้เครื่องบินมาจอดนั้นเป็นเรื่อง routine ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับสงครามในอัฟกานิสถาน แต่บางคนบอกว่าใช่ รัฐบาลก็อ้ำอึ้ง คลุมเครือ และเลี่ยงไป ดูตอนที่ยังไม่ได้ไปเยือนสหรัฐฯ ก็คือความสัมพันธ์ไม่ดี จุดยืนของประเทศไทยในเรื่องสงคราม 11 กันยายน ทำให้ความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐไม่ดี มีข่าวว่าอเมริกาต้อนรับเราไม่ดีเท่าที่ควร ไม่เหมือนกับต้อนรับผู้นำของฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย สะท้อนให้เห็นว่าอเมริกาไม่ค่อยพอใจในจุดยืนของเรา เราไม่เต็มใจที่จะสนับสนุนอเมริกา รวมไปถึงอเมริกาคงมองว่าตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้ขึ้นมา เราค่อนข้างเอียงไปทางจีน ไม่ค่อย Pro ตะวันตก และมีนโยบายออกมาในเชิงชาตินิยม มีท่าทีแข็งกร้าวต่อตะวันตก ซึ่งหลายๆอย่างนี้ทำให้อเมริกามองไทยไม่ค่อยดีนัก การที่จะทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น ขึ้นอยู่กับว่า เราจะแก้ภาพลักษณ์ของเราได้มากน้อยแค่ไหน เราจะดำเนินนโยบายแบบที่เราถนัด คือ นโยบายตีสองหน้า ได้มากน้อยแค่ไหน และสหรัฐฯ จะหลงกับนโยบายตีสองหน้าของเราแค่ไหน การดำเนินนโยบายในลักษณะที่ผ่านมา บางคนอาจจะมองว่าก็ดี เพราะเราไม่ได้เป็นลูกไล่ของสหรัฐอีกแล้ว อาจเป็นเพราะรัฐบาลมองบรรยากาศความรู้สึกของคนไทยทั่วไป ว่าเป็นแบบนี้ นโยบายจึงเป็น "populist policy" คือเป็นนโยบายตามกระแส แต่เราก็ต้องดูด้วยว่า ผลประโยชน์แห่งชาติคืออะไร ถ้าเราจะไปแข็งกร้าวกับอเมริกาแล้วเราเสียประโยชน์ ก็ไม่ใช่นโยบายที่ถูกต้อง นโยบายต่างประเทศที่ถูกต้อง ต้องขึ้นอยู่กับผลประโยชน์แห่งชาติ ซึ่งเราจะต้องโอนอ่อน ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ การทูตของไทยที่ผ่านมา เราไม่เคยแข็งกร้าวกับใคร เราใช้นโยบาย "สนลู่ลม" มาโดยตลอด แต่ตอนนี้ถ้าเราจะมาแข็งกับอเมริกา แล้วทำให้ความสัมพันธ์ไม่ดี ผลเสียก็จะเกิดขึ้น ฉะนั้นเราจะตามกระแสไม่ได้ ถ้าจะเปรียบเทียบ รัฐบาลประชาธิปัตย์อาจจะถูกมองว่าเอาใจอเมริกามากเกินไป ดังนั้นนโยบายที่ดีต้องหาจุดสมดุลว่าอยู่ตรงไหน อย่าให้มากเกินไป หรือน้อยเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

รัฐบาลชุดนี้เอียงไปทางจีนหรือตามกระแสมากไป รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับอเมริกาน้อยเกินไป ล่าสุด การเดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ของท่านนายกฯ ทักษิณเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผลการเยือนครั้งนี้ก็ไม่ถึงกับล้มเหลว แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรมากมายนัก ได้ข่าวว่านายกฯ ทักษิณ ได้คุยกับประธานาธิบดีบุชเพียง 20 นาที เรื่องที่อเมริกากำลังสนใจอยู่ขณะนี้ คือ เรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งฝ่ายไทยเราก็บอกว่า เราก็ยินดีให้ความร่วมมือกับสหรัฐ ฯ แต่ผมดูแล้ว ความร่วมมือและการสนับสนุนที่ฝ่ายไทยให้ก็เป็นแบบไม่ค่อยเต็มใจ ไม่เต็มที่ ไม่เหมือนกับพันธมิตรของอเมริกาในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ประเทศเหล่านี้ประกาศจุดยืนให้ความร่วมมือกับอเมริกาอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ก็มีการลงนามกันในระดับ รัฐมนตรีต่างประเทศในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็คงจะเป็นหลักการกว้าง ๆ คงจะไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่สิ่งที่ควรเป็นรูปธรรม คือเรื่องเม็ดเงินในเรื่องตลาดการส่งออก และ เรื่องการลงทุน แต่ทั้งสองเรื่องนี้ตอนนี้ก็กำลังอยู่ในสภาวะย่ำแย่ การส่งออกของไทยไปตลาดสหรัฐฯ ในปีนี้ก็ลดลงอย่างมาก การลงทุนของสหรัฐฯ ในไทยก็ลดลงกว่า 60% ส่วนข้อเสนอของไทยที่จะให้อเมริการ่วมมือให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการบินนั้น ขณะนี้ก็ยังไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมเช่นเดียวกัน

2.7 "public diplomacy" รัฐบาลชุดนี้จะฟังเสียงประชาชน ทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องนโยบายต่างประเทศ จะมีบัวแก้วสัญจร ในแง่ดึงเอากลุ่มต่างๆมาช่วยกันคิด ดูเหมือนรัฐบาลจะมีความพยายาม มีการจัดสัมมนา ทำ Work Shop ระดมนักวิชาการเข้าไปช่วยกันคิด

2.8 สิทธิมนุษยชน ในช่วงที่ดร.สุรเกียรติ์ เข้ารับตำแหน่งใหม่ๆก็ใส่เรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไปในนโยบายด้วย แต่ในทางปฎิบัติไม่พูดถึงเลย กลายเป็นว่า ตรงกันพอดี ในยุคของคลินตันซึ่งเขาเน้นสิทธิมนุษยชน และพอดีกับรัฐบาลชวน ดร.สุรินทร์ก็เน้นสิทธิมนุษยชน ทำให้ตอนนั้นไทยกับสหรัฐสนิทกัน แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า ไทยก็ไม่เอาสิทธิมนุษยชน เพราะถ้าเราเน้น ก็จะไปทะเลาะกับประเทศเพื่อนบ้าน อเมริกาก็ไม่เอาแล้วเพราะว่าตอนนี้ต้องไปสร้างพันธมิตรเพื่อจะมาสู้กับขบวนการก่อการร้าย เพราะฉะนั้นเรื่องสิทธิมนุษยชนจึงไม่มีใครพูดถึงอีกแล้ว

3. รัฐบาลทักษิณกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการต่างประเทศ ในทัศนะของผม ผมมองว่ายุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของไทยควรเน้น 11 ประเด็นด้วยกัน ในส่วนนี้ผมจะประเมินว่านโยบายต่างประเทศของรัฐบาลทักษิณได้บรรลุยุทธศาสตร์ดังกล่าวมากน้อยแค่ไหน:

3.1 ในทัศนะของผม นโยบายต่างประเทศไทย ควรเป็นนโยบายเดินสายกลาง ควรให้น้ำหนักประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศมหาอำนาจเท่าๆกัน แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลโอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ให้น้ำหนักกับประเทศเพื่อนบ้านมากเกินไป มหาอำนาจก็ให้น้ำหนักกับจีนมากเกินไปจนไม่สมดุล

3.2 นโยบายที่ดี ควรจะเป็นนโยบายที่เราควรเป็นทั้งพลเมืองที่ดีของโลก และเป็นเพื่อนบ้านที่ดี ถ้าเราจะเป็นพลเมืองที่ดีของโลกก็ต้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชน แต่เราก็จะเป็นเพื่อนบ้านที่ไม่ดี ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน ถ้าจะเป็นเพื่อนบ้านที่ดี เราก็จะเป็นพลเมืองโลกที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรจึงจะเป็นทั้ง 2 อย่าง รัฐบาลชุดนี้เลือกเป็นเพื่อนบ้านที่ดีและเป็นพลเมืองโลกที่ไม่ดี โดยเฉพาะการไม่ให้ความสำคัญต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน

3.3 ไทยควรเป็นตัวเชื่อมในความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ : นโยบายของรัฐบาลชุดนี้สะท้อนออกมาในข้อเสนอ Asia Cooperation Dialogue ถือว่าใช้ได้

3.4 อีกเรื่องคือ รื้อฟื้นยุทธศาสตร์ชาติที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางในอนุภูมิภาคทางด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลชุดนี้กำลังรื้อฟื้นเรื่องนี้ขึ้นมา แต่คงลำบาก เพราะสถานะทางเศรษฐกิจของไทย

3.5 อีกเรื่องที่ผมคิดว่าจะเป็นปัญหาในอนาคต ซึ่งเราต้องกำหนดจุดยืนของเรา ซึ่งค่อนข้างยาก คือเรื่องของการปะทะกันระหว่างอารยธรรม หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน เราจะมีจุดยืนอย่างไรในการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งตอนนี้เราเดินตามกรอบชอง UN จะมีอะไรไหมที่เราจะกำหนดบทบาทที่ชัดเจนมากกว่านี้ การปะทะกันระหว่างอารยธรรม ความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม เราจะกำหนดจุดยืนอย่างไร ที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้รวนเรอยู่พักหนึ่ง คือ ใจหนึ่งก็ไม่อยากเข้าไปยุ่ง อยากที่จะเป็นกลาง แต่อีกส่วนหนึ่งเราเป็นกลางไม่ได้เพราะอเมริกาบีบให้เลือกข้างใดข้างหนึ่ง

3.6 เรื่องประชาธิปไตย จุดแข็งของไทยคือ ประชาธิปไตย เพราะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยคืออันดับหนึ่ง แต่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์ตรงนี้เลย เราเป็นผู้นำประชาธิปไตย แต่เราทิ้งประเด็นสิทธิมนุษยชนไป ซึ่งผมถือว่าเป็นเรื่องผิดพลาดในนโยบายของรัฐบาลทักษิณ

3.7 เรื่องเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างที่เกี่ยวกับระบบราชการ นโยบายต่างประเทศ นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รัฐบาลชุดนี้ แรกๆก็ดูเอาจริงเอาจัง จะมีการตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมา ตั้งกระทรวงการค้าระหว่างประเทศ ทีมไทยแลนด์ แต่กระทรวงการค้าตอนนี้เงียบไป ถ้ามีกระทรวงนี้ขึ้นมาจะเป็นผลดีหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่ไม่ชัดเจน เพราะมีหลายทางเลือก ทำไมรัฐบาลเลือกกระทรวงการค้า ทำไมไม่โอนงานด้านการเจรจาการค้ามาอยู่กระทรวงต่างประเทศ ทำไมไม่ตั้งเป็น USTR แบบของสหรัฐ ของไทยมี TTR แต่ไม่มีบทบาท บทบาทเป็นเพียงเฉพาะกิจ

3.8 อินเดียดูเหมือนเป็นไพ่ใบใหม่ของไทย กำลังจะมีความสำคัญมากขึ้น นายกฯทักษิณจึงเดินทางไปเยือนอินเดีย ไปกระชับความสัมพันธ์ จึงเป็นแง่บวกในนโยบายต่างประเทศไทย

3.9 เกาหลีกำลังจะเป็นมหาอำนาจ ตัวแสดงที่สำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ดูเหมือนเราจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับเกาหลีเท่าไรนัก

3.10 ไทยสามารถมีบทบาทในการเป็นผู้ริเริ่มการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก Asian Currency หรือ Asian Monetary Fund แต่รู้สึกเราค่อนข้างจะตามเขามากกว่า กระทรวงการคลัง ดร.สมคิด ไม่มีบทบาท มุ่งแต่เรื่องภายใน มิติเรื่องต่างประเทศของกระทรวงการคลัง แทบจะไม่มีบทบาท และเราก็ตามเขา ญี่ปุ่นจะว่ายังไงเราก็ตาม เราไม่มีบทบาทที่โดดเด่น

3.11 เขตการค้าเสรีทวิภาคี เราก็กำลังทำอยู่ เช่นไทยกับญี่ปุ่น ไทยกับออสเตรเลีย กำลังมีการเจรจากันอยู่ มีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง

สรุป นโยบายต่างประเทศของไทย ของรัฐบาลทักษิณในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จในบางเรื่อง ล้มเหลวในบางเรื่อง แต่ก็ไม่ถึงกับล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง หรือประสบความสำเร็จอย่างมากมาย ดังนั้นผมขอให้เกรดรวมเป็นเกรด B ครับ

………………………………………… * ข้อคิดเห็นในข่าวสารนิเทศฉบับนี้เป็นทัศนะส่วนตัว มิใช่ทัศนะของศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ

* ข้อคิดเห็นในข่าวสารนิเทศฉบับนี้เป็นทัศนะส่วนตัว มิใช่ทัศนะของศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ

ทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศที่น่าสนใจ

ทฤษฎีการเมืองโลกยุคหลังสงครามเย็น

ในทศวรรษที่ 1990 นั้นเป็นช่วงที่ถูกมองว่าเป็นวินาทีสำคัญของลัทธิเสรีนิยม (เนื่องมาจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991) และมโนทัศน์ (แนวคิด) ของ Francis Fukuyama ที่ว่าเป็น การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ นั้นกลายเป็นทฤษฎีทางเสรีนิยมที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของยุคหลังสงครามเย็น ซึ่งพวกเสรีนิยม (liberal) มองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับยุคหลังสงครามเย็นนั้น โดยตั้งอยู่บนสมมติฐาน 3 ข้อ คือ

1. ประเทศประชาธิปไตย จะไม่ทำสงครามระหว่างกัน

2. สถาบันต่างๆ เช่น องค์การระหว่างประเทศ สามารถอยู่เหนือว่าตรรกะของอนาธิปไตย (กล่าวคือ องค์การระหว่างจะสามารถควบคุมไม่ให้เกิดความวุ่นวายทั้งในรัฐต่างๆ และระหว่างรัฐได้

3. ทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ยุคสมัยใหม่จะผูกมัดรัฐต่างๆ ให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับพวกสัจนิยม (realist) ซึ่งไม่ได้เป็นพวกสัจนิยมเพราะว่าพวกเขามี ความจริงจัง (realistic) แต่เพราะพวกเขามีความเชื่อในสิ่งที่มีการวิเคราะห์จากรากฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับว่าแนวทางใดที่ระบบระหว่างประเทศเคยดำเนินมา (ในอดีต) และดำเนินอยู่ (ปัจจุบัน) เช่น

1. Mearsheimer ได้ตั้งข้อถกเถียงเกี่ยวกับ การกลับไปสู่อนาคต ซึ่งสร้างขึ้นมาบนข้อถกเถียงพื้นฐานของพวกสัจนิยมว่า ระบบสงครามเย็นของสองขั้วอำนาจแม้นว่าจะนำไปสู่ สันติภาพที่ยาวนาน แต่ความคิดนี้อาจจะถูกบั่นทอนในปัจจุบันเพราะสันติภาพค่อยๆ สลายหายไป

2. Kaplan นั้นได้มีแนวความคิด การมาของอนาธิปไตย (coming anarchy) ซึ่งสร้างบนประสบการณ์ของสิ่งที่เขาใช้คำว่า ภูมิภาคที่กำลังจะตาย” (dying regions) ของโลก ดังเช่น บางส่วนของแอฟริกา และเขายืนยันความจริงที่ว่าตะวันตกเพิกเฉยต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่เหล่านี้นั้นเป็นการเสี่ยง

3. บทเสนอ (thesis) ของ Huntington เกี่ยวกับ การปะทะกันทางอารยธรรม (clash of civilizations) ได้เริ่มอธิบายประเด็นของความขัดแย้งที่ต้องเกิดขึ้นและมิอาจหลีกเลี่ยงได้ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ในทางประวัติศาสตร์ และดำเนินต่อไปถึงข้อถกเถียงที่ว่า ความขัดแย้งที่สำคัญครั้งต่อไปในโลกจะไม่ใช่เรื่องทางเศรษฐกิจหรืออุดมการณ์แต่เป็นเรื่องวัฒนธรรม

นักคิดแนวคิดอื่นๆ ที่ฉีกแนวอย่างสิ้นเชิงและมีนัยสำคัญต่อทฤษฎีการเมืองโลกนั้น ได้พัฒนาความคิดออกไปจากหรือตรงข้ามกับแนวคิดด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลัก เช่น

1. Noam Chomsky นักเขียนที่มีหนังสือขายดีและมีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเขามีข้อวิจารณ์ต่อสิ่งที่เขาใช้คำว่า อาณาจักรอเมริกัน” (American Empire) ซึ่งมีประเด็นของนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าในระเบียบโลกใหม่นั้นได้เปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์แล้วคงจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย มีแต่สหรัฐเมริกาเท่านั้นที่จะเพิ่มความสามารถ (capacity) เพื่อไปในทางของตน

2. Robert Cox มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างมากในด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ (international political economy หรือ IPE) แต่เขาก็เหมือน Chomsky ที่เชื่อว่าโครงสร้างของความเป็นเจ้า (hegemony) จะถูกสร้างขึ้นมาในยุคหนึ่งซึ่งยังคงเป็นไปได้อยู่

3. Naomi Klein เป็นนักคิดระบบซึ่งเป็นที่รู้จักน้อยกว่าที่เธอเป็นนักกิจกรรมที่นิยามตัวเองว่าเป็นปากกระบอกเสียงของการเคลื่อนไหวต่อต้านโลกาภิวัฒน์ทั้งต่อลัทธิบริโภคนิยมและบรรษัทข้ามชาติ

แปลและเรียบเรียงจาก: Baylis, John. “Chapter 6 From the Cold War to the war on terror” in The Globalization of world politics: an introduction to international relations. Oxford: Oxford University Press, c2005

สัจนิยมและเสรีนิยม: 2 แนวคิดทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แนวคิดสัจนิยม (Realism)

1. บทนำ: ความรู้ไร้กาลเวลาของแนวคิดสัจนิยม

สัจนิยมนิยมเป็นทฤษฎีการเมืองโลกที่มีความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นอกจากด้านการศึกษานั้น สัจนิยมยังมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน แนวคิดความสงสัย (Skepticism) เกี่ยวกับความสามารถของเหตุผลมนุษย์ที่จะที่ผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าที่ดีงามถูกกล่าวถึงบ่อยๆ ในงานของนักทฤษฎีทางการเมืองยุคคลาสสิก เช่น Thucydides, Machiavelli, Hobbes และ Rousseau ซึ่งแก่นคิดที่ตรงกันคือ รัฐจะค้นหาตัวเองในเงาของอนาธิปไตย เพื่อที่ความมั่นคงของตัวเองจะไม่ถูกเอาไป ในสถานการณ์เช่นนี้จึงมีความสมเหตุสมผลสำหรับรัฐที่จะแข่งขันเพื่ออำนาจและความมั่นคง

เมื่อสิ้นสุดสหัสวรรษใหม่นั้น แนวคิดสัจนิยมยังคงดึงดูดนักวิชาการและส่งผลต่อผู้วางนโยบาย ในยุคนี้ตั้งแต่สิ้นสงครามเย็นเป็นต้นมาเราจะเห็นการเพิ่มขึ้นของการวิจารณ์สมมติฐานของแนวคิดสัจนิยมบนหลักการที่ว่า แนวคิดสัจนิยมกำลังถูกละทิ้งความสำคัญในโลกยุคโลกาภิวัฒน์

2. แนวคิดสัจนิยมมีเพียงหนึ่งเดียว หรือมีหลากหลาย?

ไม่มีฉันทามติในงานชิ้นต่างๆ ที่จะทำให้เราสามารถพูดได้ว่าแนวคิดสัจนิยมเป็นทฤษฎีหนึ่งเดียวอย่างแจ่มชัด มีเหตุผลต่างๆ ที่ดีสำหรับขยายรายละเอียดประเภทต่างๆ ของแนวคิดสัจนิยม ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุด คือระหว่างแนวคิดที่หลักสำคัญทางทฤษฎีอยู่ที่ธรรมชาติของมนุษย์กับที่เน้นความสำคัญของความเป็นอนาธิปไตยระหว่างประเทศ และการแบ่งแยกอำนาจในระบบระหว่างประเทศ

แนวคิดสัจนิยมเชิงโครงสร้าง (structural realism) แบ่งออกเป็น 2 ค่าย ได้แก่ ฝ่ายที่ถกเถียงว่ารัฐจะขยายความมั่นคงสูงสุด (defensive realism) และฝ่ายที่ถกเถียงว่ารัฐจะขยายอำนาจสูงสุด (offensive realism) อย่างไรก็ตาม ก็มีนักคิดสัจนิยมร่วมสมัยผู้ซึ่งแสดงความเห็นจากทั้งแนว defensive realism และ offensive realism จากแนวคิดสัจนิยมเชิงโครงสร้าง นักคิดสัจนิยมยุคคลาสสิกใหม่นำทั้งความแตกต่างของบุคคลและหน่วยต่างๆ กลับมาสู่ทฤษฎี ในขณะที่นักสัจนิยมแบบทางเลือกที่สมเหตุสมผล (rational choice realists) จะยอมรับความสำคัญของสถาบันระหว่างประเทศ

3. หลักสำคัญของแนวคิดสัจนิยม

3.1 รัฐนิยม (statism) เป็นข้อสำคัญของแนวคิดสัจนิยม ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้ออ้าง 2 ประการ คือ ประการแรก สำหรับนักทฤษฎีรัฐเป็นตัวละครที่สำคัญมากที่สุด และตัวละครอื่นๆ ในการเมืองโลกมีนัยสำคัญน้อยกว่า อีกประการหนึ่ง รัฐ อธิปไตย มีนัยแสดงถึงการดำรงอยู่ของความเป็นประชาคมทางการเมืองที่เป็นเอกราชซึ่งมีอำนาจทางกฎหมายเหนือดินแดนของตน

ข้อวิจารณ์หลัก รัฐนิยมมีความผิดพลาดทั้งในเชิงประจักษ์ (ความท้าทายต่ออำนาจรัฐจาก บนและ ล่าง) และในเชิงมาตรฐานของพฤติกรรม (ความไร้สามารถของรัฐอธิปไตยที่จะตอบโต้ปัญหาระดับโลกร่วมกัน เช่น การขาดแคลนอาหาร, สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน

3.2 ความอยู่รอด (survival) เป้าหมายแรกของทุกรัฐคือความอยู่รอด ซึ่งถือว่าเป็นผลประโยชน์แห่งชาติสูงสุดที่ผู้นำทางการเมืองทุกคนต้องยึดมั่น เป้าหมายอื่นๆ เช่น ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ มีความสำคัญรอดลงมา [หรือ การเมืองระดับล่าง (low politics)] เพื่อที่จะรักษาความมั่นคงของรัฐไว้ได้ ผู้นำต้องนำเอารหัสทางความเชื่อและหลัก (ethical code) ที่ตัดสินการกระทำจากผลลัพธ์ มากกว่าจะเป็นการตัดสินว่าการกระทำของบุคคลผิดหรือถูก ถ้ามีศีลธรรมใดๆ เกี่ยวข้องกับแนวคิดสัจนิยมทางการเมืองแล้ว สิ่งเหล่านั้นก็คงเพียงสามารถยึดคิดแต่ในเฉพาะบางชุมชนเท่านั้น

ข้อวิจารณ์หลัก ไม่มีขีดจำกัดการกระทำของของรัฐที่รัฐอ้างว่าเป็นความจำเป็นได้เลยหรือ?

3.3 การช่วยตัวเอง (self-help) ไม่มีรัฐหรือสถาบันอื่นใดที่รัฐหนึ่งจะสามารถไว้ใจในด้านความอยู่รอดของตนได้ ในการเมืองระหว่างประเทศ โครงสร้างของระบบไม่ได้ยอมให้มีความเป็นมิตร ความเชื่อใจ และเกียรติยศ เงื่อนไขของความไม่แน่นอนที่ยังคงเกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากการขาดรัฐบาลโลก การอยู่ร่วมกันจะสำเร็จได้ต้องรักษาสมดุลแห่งอำนาจ (balance of power) และจำกัดความร่วมมือที่เป็นไปได้ในปฏิสัมพันธ์ที่ซึ่งรัฐที่มีแนวคิดสัจนิยม (realist state) จะสร้างกำลังมากขึ้นเหนือรัฐอื่น

ข้อวิจารณ์หลัก หลักการช่วงตัวเองนั้นไม่ได้เป็นผลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการขาดรัฐบาลโลก การช่วยตัวเองเป็นตรรกะที่รัฐเลือกมาใช้ มากไปกว่านั้น ยังมีตัวอย่างในประวัติศาสตร์และในปัจจุบันที่รัฐพอใจที่จะระบบความมั่นคงร่วมกัน(collective security systems) หรือสร้างประชาคมความมั่นคงแห่งภูมิภาค (regional security communities) มากกว่าที่จะใช้หลักการช่วยเหลือตัวเอง

แนวคิดเสรีนิยม (Liberalism)

1. บทนำ

แนวคิดเสรีนิยมเดิมนั้นอยู่ในความคิดทางการเมืองซึ่งย้อนไปถึงนักคิดอย่าง John Locke ในปลายศตวรรษที่ 17 ตั้งแต่นั้นมาความคิดแบบเสรีได้ก่อรูปขึ้นมาว่าเราคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับพลเมืองอย่างไร เสรีนิยมเป็นทั้งทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐบาลภายในรัฐ และแนวคิดธรรมาภิบาลระหว่างรัฐกับประชาชนทั่วโลก แนวคิดเสรีนิยมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดสัจนิยมที่มองว่าการเมืองระหว่างประเทศเป็นอนาธิปไตย แต่พวกเสรีนิยมมุ่งค้นหาค่านิยมของความเป็นระเบียบ เสรีภาพ ความยุติธรรม และความอดทนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ช่วงสำคัญของความคิดแบบเสรีนิยมในความสัมพันธ์ระหว่างมาถึงในยุคระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 จากงานของพวกเสรีนิยมที่เชื่อว่าการทำสงครามไม่มีความจำเป็นและและเป็นวิธีการที่ล้าสมัยที่ต้องมาระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ สถาบันในประเทศและระหว่างประเทศมีความจำเป็นเพื่อปกป้องและส่งเสริมค่านิยมเหล่านี้ แต่ต้องเข้าใจว่าค่านิยมเหล่านี้และสถาบันอาจทำให้มีความแตกต่างทางนัยยะ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ว่ามีการถกเถียงอย่างรุนแรงระหว่างพวกเสรีนิยม

เสรีนิยมไม่เห็นด้วยกับประเด็นสำคัญ เช่น สาเหตุของสงคราม และสถาบันประเภทไหนที่จำเป็นต่อการส่งเสริมค่านิยมแบบเสรีนิยมในระบบระหว่างประเภทพหุวัฒนธรรมแบบกระจายอำนาจ และข้อแตกต่างที่สำคัญภายในเสรีนิยม ซึ่งมีความชัดเจนขึ้นในโลกโลกาภิวัฒน์ของเรา คือ ระหว่างพวกที่ปฏิบัติด้วยแนวคิดเสรีนิยมด้านบวก ซึ่งสนับสนุนนโยบายต่างประเทศแบบแทรกแซง (interventionist foreign policies) และสถาบันระหว่างประเทศที่เข้มแข็ง กับพวกที่ต่อต้านด้วยแนวคิดด้านลบซึ่งให้ความสำคัญกับการอดทนและไม่แทรกแซง

2. แก่นความคิดหลักในแนวคิดเสรีนิยมบนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความคิดเสรีนิยมบนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงต้นมีมุมมองว่าระเบียบในธรรมชาติถูกฉ้อฉลโดยผู้นำรัฐที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและนโยบายที่ล้าสมัย เช่น สมดุลแห่งอำนาจ นักคิดเสรีนิยมยุครู้แจ้งยังเชื่อว่าศีลธรรมที่เป็นสากลที่มีอยู่สามารถบรรลุผลโดยการใช้เหตุผลและผ่านการสร้างรัฐที่มีรัฐธรรมนูญ เพิ่มเติมไปมากกว่านี้การไม่ควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชนและสินค้าสามารถทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดสันติได้ง่ายขึ้น

ถึงแม้ว่าจะมีความต่อเนื่องที่สำคัญระหว่างความคิดเสรีนิยมยุครู้แจ้งและความคิดในศตวรรษที่ 20 เช่น ความเชื่อในอำนาจของความเห็นสาธารณะของโลกซึ่งสามารถควบคุมผลประโยชน์ของรัฐได้ง่ายขึ้น แต่จิตนิยมเสรีนิยม (liberal idealism) ก็เป็นที่ถือนิยมมากกว่า สำหรับพวกจิตนิยมแล้ว อิสรภาพของรัฐเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการเมืองระหว่างประเทศและไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทางออก ข้อบังคับ 2 ประการที่มาจากการวินิจฉัยนั้น ได้แก่ ประการแรกคือความจำเป็นสำหรับการคิดเกี่ยวกับมาตรฐานพฤติกรรมอย่างชัดแจ้ง เช่น จะส่งเสริมสันติภาพและสร้างโลกที่ดีกว่าอย่างไร ประการที่สอง รัฐจะต้องเป็นส่วนหนึ่งขององค์การระหว่างประเทศและผูกมัดด้วยกฎและแบบแผนพฤติกรรมขององค์การระหว่างประเทศนั้น

ใจกลวงความคิดของจิตนิยมนั้นคือ รูปแบบขององค์การระหว่างประเทศที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางสันติ การลดการสะสมอาวุธ การระงับข้อพิพาท และ (ถ้าจำเป็น) การบังคับได้ง่ายขึ้น สันนิบาตชาติ (League of Nations) ก่อตั้งขึ้นในปี 1920 แต่ระบบความมั่นคงร่วมกันล้มเหลวที่จะป้องกันการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทศวรรษที่ 1930 รัฐที่ชนะสงครามในฐานะพันธมิตรในช่วงสงครามต่อต้านนาซีเยอรมัน ได้ผลักดันสถาบันการเมืองระหว่างประเทศใหม่ซึ่งสร้างขึ้นมาจากกฎบัตรสหประชาชาติ (United Nations Charter) เซ็นกันเดือนมิถุนายนปี 1945 โดยรัฐ 50 รัฐ ที่ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงจากสันนิบาตชาติ 2 ประการ คือ ประการแรกสมาชิกภาพจะมีทั่วโลก อีกประการหนึ่งมหาอำนาจสามารถป้องกันการบังคับใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นและอาจจะขัดแย้งกับผลประโยชน์ของมหาอำนาจ

ในยุคหลังปี 1945 นั้น (ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) พวกเสรีนิยมได้ขอให้สถาบันระหว่างช่วยทำหน้าที่ต่างๆ ที่รัฐไม่สามารถทำได้ นี้เป็นการตัวเร่งสำหรับทฤษฎีบูรณาการในยุโรปและพหุนิยมในสหรัฐอเมริกา ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 พหุนิยมได้สร้างความท้าทายครั้งสำคัญให้แก่แนวคิดสัจนิยม พหุนิยมมุ่งเน้นตัวละครใหม่ (บรรษัทข้ามชาติ, NGO) และรูปแบบใหม่ของปฏิสัมพันธ์ (การพึ่งพาซึ่งกันและกัน, การบูรณาการ)

เสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) แสดงให้เห็นถึงความท้าทายเชิงทฤษฎีที่ซับซ้อนมากขึ้นต่อแนวคิดสัจนิยมร่วมสมัย โดยอธิบายความคงทนของสถาบันระหว่างประเทศถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในบริบท ตามที่พวกเสรีนิยมใหม่ว่านั้น สถาบันระหว่างประเทศมีอิทธิพลต่อการใช้กำลังกันอย่างไม่ระมัดระวังในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเปลี่ยนแปลงลักษณะของรัฐและผูกมัดไว้ในแผนความร่วมมือต่างๆ อาจกล่าวได้ว่าเสรีนิยมสันติประชาธิปไตย (democratic peace liberalism) และเสรีนิยมใหม่นั้นเป็นความคิดหลักในแนวคิดเสรีนิยมในปัจจุบัน

แปลและเรียบเรียงจาก: Baylis, John. “Chapter 7 Realism” and “Chapter 8 Liberalism” in The Globalization of world politics: an introduction to international relations. Oxford: Oxford University Press, c2005

ทฤษฎีเกม (Game Theory)

ทฤษฎีเกมเป็นแนวทางในการอธิบายถึงพฤติกรรมในการตัดสินใจในการดำเนินการ ซึ่งอาจจะใช้ในการตัดสินใจในทางธุรกิจ ในทางส่วนตัว ตลอดจนการใช้กรอบของการดำเนินนโยบายอย่างเป็นทางการ ซึ่งหมายถึง การดำเนินนโยบายสาธารณะ (Public Policy) ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านการดำเนินนโยบายต่างประเทศด้วย

ทฤษฎีเกมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (Behaviorism) อันหมายถึงกรอบในการวิเคราะห์บนพื้นฐานของพฤติกรรมในการตัดสินใจ ทฤษฎีเกมนั้นอาจจะจำแนกออกเป็น 2 แนวทางย่อย คือ

1. ทฤษฎีเกมที่เน้น ตรรกะเชิงตัวเลข (Logical Mathematic Approach) จะสร้างรูปแบบทางออกในการตัดสินใจเป็นตัวเลขและมีการวิเคราะห์ในเชิงเหตุผล (rational) เพื่อจะหาข้อสรุปว่าแนวทางไหนที่ดีที่สุดสำหรับผู้ตัดสินใจบนฐานของตัวเลขที่เห็นได้ชัด

2. ทฤษฎีเกมที่เน้นในด้านของ แนวทางประจักษนิยม (Experimental Approach) จะเน้นการตัดสินใจบนพื้นฐานของประสบการณ์อันสังเกตได้จากพฤติกรรมที่เคยมีการดำเนินการเป็นบรรทัดฐาน

ความจริงนั้นทฤษฎีเกมทั้งสองแนวทางอาจจะไม่สามารถแบ่งแยกกันได้เด็ดขาด เพราะทั้งสองทฤษฎีนั้นมีตรรกะแห่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ในการตัดสินใจสิ่งที่ต้องพิจารณาประการแรก ก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับนิสัยใจคอของผู้ตัดสินใจ รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมตลอดจนระบบที่จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดลักษณะการตัดสินใจของบุคคล นิสัยใจคอของบุคคลแม้ว่าจะเป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจได้ก็จริง แต่ก็ไม่ได้เป็นตัวอธิบายทั้งหมด ทั้งนี้เป็นเพราะมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่จะเป็นตัวกำหนด ยกตัวอย่างเช่น

นาย ก. อาจจะเป็นคนเจ้าอารมณ์และอาจตัดสินใจด้วยความโมโห แต่เมื่อนาย ก. ได้กลายมาเป็นผู้นำในองค์กรหรือผู้บริหารระดับประเทศ การตัดสินใจของนาย ก. จึงมิใช่เป็นผลที่เกิดจากอารมณ์ แต่หากจะต้องมีองค์ประกอบของเหตุผลที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากองค์ประกอบของสภาพแวดล้อม อาทิเช่น ที่ปรึกษา รัฐสภา ตลอดจนความรู้สึกของประชาชน กรอบเหล่านี้จะทำให้แนวทางในการตัดสินใจของนาย ก. ณ สถานภาพหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสถานภาพหนึ่งในบริบทดังกล่าว

ทฤษฎีเกมสามารถแบ่งออกเป็นได้ 2 ลักษณะ คือ แนวทางเกมศูนย์ (Zero Sum Game) และ แนวทางเกมไม่ศูนย์ (Non-zero Sum Game) ซึ่งอาจจะจำแนกออกเป็น เกมบวก (Positive Sum Game) และ เกมลบ (Negative Sum Game)

ทฤษฎีเกมศูนย์ (Zero Sum Game) หมายถึง แนวทางในการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ว่า ต้องมีผู้ได้ (Winner) และผู้เสีย (Loser) ถ้าจะว่ากันไปแล้วเกมศูนย์ก็คือเกมเล่นไพ่ ในวงไพ่ถ้ามีคนได้ 300 บาท จะต้องมีคนเสียรวมกันแล้วเท่ากับ 300 บาท ดังนั้น บวก 300 บาท ลบ 300 บาท จึงเท่ากับศูนย์ หรือเป็นเกมที่อธิบายว่า เมื่อมีผู้ได้ (Winner) ต้องมีผู้เสีย (Loser) เสมอไป ในการตัดสินใจบนพื้นฐานของเกมศูนย์นั้น ผู้ตัดสินใจที่จะเล่นเกมนี้จะต้องมีการประเมินอำนาจต่อรองและต้องมีความมั่นใจว่าตนเองนั้นมีอำนาจต่อรองสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง จึงกล้าที่จะตัดสินใจบนพื้นฐานของเกมศูนย์ คือ ฉันได้และคุณเสีย พื้นฐานการตัดสินใจดังกล่าวนั้นย่อมอธิบายว่า ผู้ตัดสินใจได้คิดกรอบของตรรกะแห่งเหตุและผล (Rational) เป็นหลัก อย่างไรก็ตามในทางความเป็นจริง การตัดสินใจในกรอบนี้อาจจะจะมีความผิดพลาด ถ้าผู้ตัดสินใจแม้จะมีเหตุมีผลแต่ขาดข้อมูลที่เพียงพอหรือวิเคราะห์ผิดพลาด

ทฤษฎีเกมลบ (Negative Sum Game) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีเกมประเภทไม่ศูนย์ (Non-zero Sum Game) หมายถึง กรอบการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ว่า ถ้าเมื่อใดผลการตัดสินใจนั้นจะทำให้ผู้ตัดสินใจทุกฝ่ายเป็นผู้เสีย ผู้ตัดสินใจเหล่านั้นจะพยายามหลีกเหลี่ยงการตัดสินใจดังกล่าว ตัวอย่างก็คือ

ในกรณีนาย ก. กับนาย ข. มีการเจรจาต่อรองกันและในที่สุดก็เกิดทะเลาะกัน ทำให้การเจรจาต่อรองล้มเหลว และด้วยความโกรธต่างฝ่ายต่างพูดในทำนองว่าจะไม่คบค้าซึ่งกันและกันต่อไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป นาย ก. และนาย ข. ต่างก็ตระหนักว่าขืนไม่ตืดต่อกัน ธุรกิจทั้งสองฝ่ายจะพังทั้งคู่ เพราะนาย ก. ซื้อวัตถุดิบจากนาย ข. ซึ่งมีราคาถูกและหาซื้อจากที่อื่นไม่ได้ ทำให้นาย ก. มีความได้เปรียบคู่แข่ง ในขณะที่ นาย ข. ต้องพึ่งพานาย ก. ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งถ้านาย ก. ไม่ซื่อวัตถุดิบ นาย ข. ก็จะขาดทุน

ลักษณะดังกล่านั้น ในทฤษฎีเกมจะอธิบายพฤติกรรมของนาย ก. และนาย ข. ในอนาคตว่าจะต้องกลับเข้ามาเจรจากันใหม่ และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการเจรจา การที่นาย ก. และนาย ข. กลับเข้ามาคบค้าและเจรจากันใหม่นั้น ก็ด้วยความจำเป็นของเหตุผลที่จะหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย หรือที่เราเรียกว่า เกมลบ(Negative Sum Game) นั่นเอง และโอกาสที่จะเจรจาประสบความสำเร็จจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากทั้งสองได้มีประสบการณ์จากปัญหาที่เป็นผลจากการไม่คบค้าซึ่งกันและกัน

ทฤษฎีเกมบวก (Positive Sum Game) ก็เป็นแนวทางหนึ่งของทฤษฎีเกมไม่ศูนย์ (Non-zero Sum Game) ซึ่งมีหลักการสำคัญที่อธิบายการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุและผลว่า ผู้ตัดสินใจจะต้องพยายามหาแนวทางที่ได้ทั้งคู่ (Win-Win) ทางออกในการตัดสินใจของทุกฝ่ายก็คือ การประเมินสถานการณ์ของตัวเองและของอีกฝ่ายหนึ่งหรือหลายฝ่ายก็ได้ และหาแนวทางที่จะมีจุดพบกันของผลประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เราเรียกว่า เกมบวก (Positive Sum Game) จุดที่เป็นเกมบวกนั้นย่อมเป็นจุดรวมของการหักลบผลประโยชน์และต้นทุนของแต่ละฝ่าย โดยมีข้อสรุปว่าการหักลบของแต่ละฝ่ายมีผลบวก (Positive) มากกว่าผลลบ และแน่นอนในทางปฏิบัติ บางฝ่ายย่อมมีมากกว่าบางฝ่าย บางคนอาจจะมีอำนาจต่อรองน้อยแต่เข้าใจฝ่ายตรงข้ามและมีข้อมูลมากกว่า ก็อาจจะได้ผลประโยชน์สูงกว่าฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะมีอำนาจต่อรองในทางความเป็นจริงมากกว่าก็ได้ อย่างไรก็ตาม การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ ย่อมไม่ได้หมายถึงอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสีย เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะเข้าในกรอบของเกมศูนย์ (Zero Sum Game) แต่ในทฤษฎีเกมบวก ผลได้อาจจะไม่เท่ากัน แต่ทุกฝ่ายสรุปหักลบแล้วต้องเป็นผู้ได้

ตัดตอนและเรียบเรียงจาก: สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, ทฤษฎีเกมกับการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ใน จุลชีพ ชินวรรโณ (บรรณาธิการ), ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: แนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2547. หน้า 2-5

ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

แปลจากส่วนหนึ่งของ ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดย เอโต ชินคิจิ(อาจารย์ มหาวิทยาลัยโตเกียว)

ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมคืออะไร

ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม(cultural conflicts) อาจเป็นคำที่ไม่คุ้นหูสำหรับหลายๆคน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมๆของความตึงเครียด ความแตกร้าว ความเห็นที่ไม่ตรงกันอันเกิดจากการพบกันของวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน หากการสร้างกลุ่มประชากรซึ่งเป็นมาตรหลักของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยปัจจุบัน ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างอาศัยเงื่อนไขหลักอย่างหนึ่งคือความเหมือนกันของวัฒนธรรม ก็จะสามารถแยกกลุ่มประชากรสองกลุ่มได้โดยอัตโนมัติอาศัยความต่างทางวัฒนธรรม เนื่องจากประชากรแต่ละคนจะซึมซับเอาวัฒนธรรมของกลุ่มที่ตนเองอยู่เข้าไปในบุคลิกของตนไม่มากก็น้อย ทำให้เป็นธรรมดาที่ระหว่างปัจเจกชนซึ่งอยู่ในกลุ่มประชากรที่ต่างกันมี แนวทางความคิดและการกระทำที่ต่างกัน ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคปัจจุบันที่การติดต่อระหว่างประเทศเป็นไปอย่างกว้างขวาง ประเทศที่ยืนหยัดในความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมก็เพิ่มขึ้น ผลก็คือการเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอันเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่านั่นเอง

ปัจจัยหลักที่ทำให้แนวคิดใหม่ที่เรียกว่า "ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม"มีความสำคัญขึ้นโดยฉับพลันคือ ตามที่ได้กล่าวไว้ ความต้องการการพัฒนาที่พร้อมกันของการยืนกรานในความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และการขยายใหญ่ของการติดต่อระหว่างประเทศ แต่ปัจจัยที่เป็นรูปธรรมกว่านั้น มีสองจุดที่สำคัญคือ 1.ปัจจุบันเวทีของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ครอบคลุมทั่วโลกเป็นครั้งแรกบนหน้าประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์ 2.ความจริงที่ว่าการติดต่อระหว่างประเทศของปัจเจกชนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยุโรปซึ่งเคยเป็นเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคสมัยใหม่(modern age)นั้น ตั้งแต่ยุคกลางก็มีความเหมือนของวัฒนธรรมอยู่พอสมควร บวกกับคนที่สามารถติดต่อระหว่างประเทศได้มีจำกัด ทำให้ปัญหาความต่างทางวัฒนธรรมไม่ค่อยมีโอกาสเกิดขึ้น แต่เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยปัจจุบันได้รวมเอาทั้งกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่ยุโรปเข้าไปด้วย การติดต่อระหว่างผู้มีวัฒนธรรมต่างกันหลายแบบจึงเกิดขึ้น ประเทศที่ไม่ใช่ยุโรปก็แน่นอนว่าต้องมีวัฒนธรรมส่วนที่เหมือนยุโรปรวมอยู่ แต่ ศาสนา ภาษา วิถีพื้นบ้าน ศิลปะ โดยเฉพาะด้านความคิด ก็มีการสืบทอดของวัฒนธรรมที่ต่างกัน เมื่อสัมผัสกับวัฒนธรรมของผู้อื่นก็แน่นอนว่าจะต้องเกิดความขัดแย้งขึ้น แต่หากมองอีกด้านหนึ่ง เมื่อก่อนการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดำเนินด้วยองค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ไม่กี่คนเท่านั้น ตอนนี้ การสื่อสารระหว่างประเทศมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด บุคคลนับไม่ถ้วนที่มีกลไกหรือเป้าหมายต่างๆสามารถข้ามพรมแดนได้อย่างค่อนข้างอิสระขึ้น ต่างจากทูตที่ต้องใช้วิธีคิดและการกระทำตามหลักของ "วัฒนธรรมทูต" เหล่าผู้คนที่เอาวัฒนธรรมที่แตกต่างมาสัมผัสกันก็ย่อมเกิดความขัดแย้งขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงก็ว่าได้ แต่ไม่เคยมียุคสมัยใดที่ยอมรับการมองต้นเหตุและกลไกนั้นอย่างชัดเจนและเผชิญกับมันอย่างฉลาดเท่ายุคสมัยนี้อีกแล้ว ที่จริงแล้วในประเทศเดียวกันก็เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมได้ เช่น คันไซกับคันโต มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้ แต่ก็ไม่ถูกมองเป็นปัญหาเท่าความขัดแย้งทางวัฒธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากในประเทศ คนหนึ่งคนมีสิ่งที่นับถือหรือเชื่อถืออยู่มากมาย ความนับถือความเชื่อถ้าถูกหักล้าง หรือซับซ้อนขึ้น ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมก็ไม่กลายเป็นเรื่องรุนแรง แต่ทว่า มนุษย์มากมายที่มีชีวิตอยู่ในยุคชาตินิยมนั้น ในมิติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีแนวโน้มที่จะรู้สึกรุนแรงต่อความเป็นส่วนหนึ่งของชาติหรือเผ่าพันธุ์ ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมระหว่างชาติ บางครั้งก็จะแสดงในรูปร่างที่ร้อนแรง