วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

แปลจากส่วนหนึ่งของ ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดย เอโต ชินคิจิ(อาจารย์ มหาวิทยาลัยโตเกียว)

ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมคืออะไร

ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม(cultural conflicts) อาจเป็นคำที่ไม่คุ้นหูสำหรับหลายๆคน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมๆของความตึงเครียด ความแตกร้าว ความเห็นที่ไม่ตรงกันอันเกิดจากการพบกันของวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน หากการสร้างกลุ่มประชากรซึ่งเป็นมาตรหลักของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยปัจจุบัน ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างอาศัยเงื่อนไขหลักอย่างหนึ่งคือความเหมือนกันของวัฒนธรรม ก็จะสามารถแยกกลุ่มประชากรสองกลุ่มได้โดยอัตโนมัติอาศัยความต่างทางวัฒนธรรม เนื่องจากประชากรแต่ละคนจะซึมซับเอาวัฒนธรรมของกลุ่มที่ตนเองอยู่เข้าไปในบุคลิกของตนไม่มากก็น้อย ทำให้เป็นธรรมดาที่ระหว่างปัจเจกชนซึ่งอยู่ในกลุ่มประชากรที่ต่างกันมี แนวทางความคิดและการกระทำที่ต่างกัน ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคปัจจุบันที่การติดต่อระหว่างประเทศเป็นไปอย่างกว้างขวาง ประเทศที่ยืนหยัดในความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมก็เพิ่มขึ้น ผลก็คือการเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอันเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่านั่นเอง

ปัจจัยหลักที่ทำให้แนวคิดใหม่ที่เรียกว่า "ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม"มีความสำคัญขึ้นโดยฉับพลันคือ ตามที่ได้กล่าวไว้ ความต้องการการพัฒนาที่พร้อมกันของการยืนกรานในความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และการขยายใหญ่ของการติดต่อระหว่างประเทศ แต่ปัจจัยที่เป็นรูปธรรมกว่านั้น มีสองจุดที่สำคัญคือ 1.ปัจจุบันเวทีของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ครอบคลุมทั่วโลกเป็นครั้งแรกบนหน้าประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์ 2.ความจริงที่ว่าการติดต่อระหว่างประเทศของปัจเจกชนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยุโรปซึ่งเคยเป็นเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคสมัยใหม่(modern age)นั้น ตั้งแต่ยุคกลางก็มีความเหมือนของวัฒนธรรมอยู่พอสมควร บวกกับคนที่สามารถติดต่อระหว่างประเทศได้มีจำกัด ทำให้ปัญหาความต่างทางวัฒนธรรมไม่ค่อยมีโอกาสเกิดขึ้น แต่เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยปัจจุบันได้รวมเอาทั้งกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่ยุโรปเข้าไปด้วย การติดต่อระหว่างผู้มีวัฒนธรรมต่างกันหลายแบบจึงเกิดขึ้น ประเทศที่ไม่ใช่ยุโรปก็แน่นอนว่าต้องมีวัฒนธรรมส่วนที่เหมือนยุโรปรวมอยู่ แต่ ศาสนา ภาษา วิถีพื้นบ้าน ศิลปะ โดยเฉพาะด้านความคิด ก็มีการสืบทอดของวัฒนธรรมที่ต่างกัน เมื่อสัมผัสกับวัฒนธรรมของผู้อื่นก็แน่นอนว่าจะต้องเกิดความขัดแย้งขึ้น แต่หากมองอีกด้านหนึ่ง เมื่อก่อนการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดำเนินด้วยองค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ไม่กี่คนเท่านั้น ตอนนี้ การสื่อสารระหว่างประเทศมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด บุคคลนับไม่ถ้วนที่มีกลไกหรือเป้าหมายต่างๆสามารถข้ามพรมแดนได้อย่างค่อนข้างอิสระขึ้น ต่างจากทูตที่ต้องใช้วิธีคิดและการกระทำตามหลักของ "วัฒนธรรมทูต" เหล่าผู้คนที่เอาวัฒนธรรมที่แตกต่างมาสัมผัสกันก็ย่อมเกิดความขัดแย้งขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงก็ว่าได้ แต่ไม่เคยมียุคสมัยใดที่ยอมรับการมองต้นเหตุและกลไกนั้นอย่างชัดเจนและเผชิญกับมันอย่างฉลาดเท่ายุคสมัยนี้อีกแล้ว ที่จริงแล้วในประเทศเดียวกันก็เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมได้ เช่น คันไซกับคันโต มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้ แต่ก็ไม่ถูกมองเป็นปัญหาเท่าความขัดแย้งทางวัฒธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากในประเทศ คนหนึ่งคนมีสิ่งที่นับถือหรือเชื่อถืออยู่มากมาย ความนับถือความเชื่อถ้าถูกหักล้าง หรือซับซ้อนขึ้น ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมก็ไม่กลายเป็นเรื่องรุนแรง แต่ทว่า มนุษย์มากมายที่มีชีวิตอยู่ในยุคชาตินิยมนั้น ในมิติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีแนวโน้มที่จะรู้สึกรุนแรงต่อความเป็นส่วนหนึ่งของชาติหรือเผ่าพันธุ์ ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมระหว่างชาติ บางครั้งก็จะแสดงในรูปร่างที่ร้อนแรง

ไม่มีความคิดเห็น: