วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากการวิเคราะห์เอกสารเป็นหลัก ประกอบกับขอบเขตของการศึกษามีความชัดเจน คือศึกษานโยบายต่างประเทศของไทยที่มีประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดกันในบริบทของหลังศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา เครื่องมือในการวิเคราะห์จึงควรจะใช้แนวคิดทฤษฎีที่ร่วมสมัยและยังนิยมใช้วิเคราะห์สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอยู่ เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่เป็นปัจจุบันและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้เช่น แนวคิดสัจนิยม (Realism) หรือสัจนิยมเชิงโครงสร้าง (structural realism) ซึ่งมองว่า รัฐเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ และเชื่อว่ารัฐมีธรรมชาติสองแบบคือ รัฐที่ขยายความมั่นคงสูงสุด (defensive realism) และรัฐที่ขยายอำนาจสูงสุด (offensive realism) หรือที่เรียกว่า รัฐนิยม (statism) นอกจากนี้แนวคิดสัจนิยมนี้ยังให้ความสำคัญกับเป้าหมายของรัฐที่สำคัญประการอื่นเช่น หลักความอยู่รอด (survival) หลักการช่วยตัวเอง (self-help) แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ทฤษฎีเกม Game Theory เป็นทฤษฎีแนวพฤติกรรมศาสตร์ (Behaviorism) ที่นำมาปรับใช้กับการวิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือแม้กระทั่งการประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจและนโยบายสาธารณะ ซึ่งมีทั้ง ทฤษฎีเกมที่เป็น “ตรรกะเชิงตัวเลข” (Logical Mathematic Approach) และทฤษฎีเกมที่เป็นแนวประจักษนิยม (Experimental Approach) สเน่ห์ของการใช้ทฤษฎีเกมส์อยู่ที่การนำไปสู่ผลลัพท์ของการวิเคราะห์ ซึ่งออกมาเป็นสองแนวทางคือ “แนวทางเกมศูนย์” (Zero Sum Game) และ “แนวทางเกมไม่ศูนย์” (Non-zero Sum Game) หรือที่นิยมเรียกว่าเป็น “เกมบวก” (Positive Sum Game) และ “เกมลบ” (Negative Sum Game) นั่นเอง อย่างไรก็ตามการใช้ทฤษฎีเกมส์อย่างมีอำนาจในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนี้ มักนิยมใช้วิเคราะห์จากสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น หรือมีโจทย์ปัญหาเกิดขึ้นเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์ จึงจะทำให้แนวทางของทฤษฎีเกมส์เด่นชัดกว่าการพยายามจะอธิบายความเป็นไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภาวะปกติ
นอกจากนี้ยังใช้แนวคิดทฤษฎีอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์และยังร่วมสมัยมาประกอบการวิเคราะห์ในครั้งนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดเรื่องความขัดแย้งทางวัฒนธรรม(cultural conflicts) แนวคิด ลัทธิสัจนิยมใหม่ (Neo-Realism ) แนวคิดเรื่องการปะทะกันทางอารยธรรม (clash of civilizations) ของ Huntington แนวคิดเสรีนิยมบนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งมีการแตกย่อยออกเป็น เสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) และเสรีนิยมสันติประชาธิปไตย (democratic peace liberalism)

2 ความคิดเห็น:

Apirath กล่าวว่า...

ทีมฟุตบอลนัดไปซ้อมเย็นนี้

Unknown กล่าวว่า...

Ok ครับ ดีมาก ขอบคุณ ถ้าเพิ่มทฤษฎีโดยตรงนโยบายต่างประเทศ มีหรือไม่ครับ ถ้ามีรบกวนด้วย

ขอบคุณทีมงาน
เพื่อน MPE16